ชื่ออื่น ๆ : มะกาดิน(ศรีราชา), ขี้กาแดง, ขี้กาลาย, ขี้กาน้อย, กายิงอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes bracteata (Lam.) Voight (T.palmata Roxb.)
ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ขี้กาแดง เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นนั้นจะเป็นสีขียวและมีขน
- ใบขี้กาแดง มีลักษณะเถาและใบจะคล้ายฟักเขียว ตามข้อของเถาจะมีมือสำหรับยึดเกาะ ใบจะมีขนทั้ง 2 ด้าน
- ดอกขี้กาแดง ตัวผู้และดอกตัวเมียจะมีลักษณะต่างดอกกัน ส่วนช่อดอกตัวผู้จะมีหลายดอก ช่อดอกตัวเมียจะเป็นดอกเดี่ยว และกลีบนั้นจะมีสีขาว
- ผลขี้กาแดง มีลักษณะกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ผลสุกนั้นจะมีสีแดงห้อยเป็นระย้า ผลสุกใช้ตากแห้งจะแข็งและหนา ผลสุกนกชอบรับประทานมาก เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีเขียวเข้ม เมล็ดมีพิษเพียวแค่ 2-3 เมล็ด ก็สามารถทำให้คนถึงตายได้ในเวลาเพียงเล็กน้อย ถ้าหากกิน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, ราก
สรรพคุณ ขี้กาแดง :
- ผล เป็นยาถ่ายอย่างแรง มีฤทธิ์แรงกว่าเถา แก้ตับปอดพิการ
- เถา รสขม บำรุงน้ำดี ถ่ายล้างโทษเสมหะให้ตก และดับพิษเสมหะโลหิต
- ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้
อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย