กระโดนดิน

กระโดนดิน

ชื่ออื่น ๆ : กระโดนดิน(ภาคกลาง), กระโดนเบี้ย(นครพนม), กระโดนทุ่ง(นครสวรรค์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya herbacea Roxb.
ชื่อวงศ์ : LECYTHIDACEAE (BARRINGTONIACEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระโดนดิน ไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 เซนติเมตร รากอวบ
  • ใบกระโดนดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นกระโดนดินใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร







  • ดอกกระโดนดิน ดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 0.3-3.5 เซนติเมตร มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร โคนติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 4 กลีบ ยาว 7-8 มิลลิเมตร ปลายกลีบมน กลีบดอก 4 กลีบ สีม่วงอมเขียว รูปรี ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เรียงกันเป็นชั้นๆ ก้านชูอับเรณูเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายเส้นด้าย ชั้นในสุดและชั้นนอกสุดมีแต่ก้าน ไม่มีอับเรณู รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีเนื้อนูนๆ คล้ายวงแหวนล้อมรอบ มี 4-5 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมากติดเรียงเป็น 2 แถว ก้านเกสรเพศเมียยาว มีอันเดียว
  • ผลกระโดนดิน ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3.5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ปลายผล เมล็ดรูปรี มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในเนื้อผล

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น

สรรพคุณ กระโดนดิน :

  • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ  แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ไตพิการ แก้เบาหวาน
Scroll to top