กระถิน

กระถิน

ชื่อสมุนไพร : กระถิน
ชื่ออื่นๆ
: กระถินไทย, กระถินบ้าน(ภาคกลาง), กะเส็ดโคก, กะเส็ดบก(ราชบุรี), ตอเบา, สะตอเทศ, สะตอเบา(ภาคใต้), ผักก้านถิน(เชียงใหม่), ผักหนองบก(ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Horse tamarind, Leucaena
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit
ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระถิน เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปไข่หรือกลม เปลือกเรียบสีเทา มีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป
    กระถิน
  • ใบกระถิน เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 12.5-25 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบมีขนแยกแขนง 3-10 คู่ เรียงตรงข้าม ยาว 5-10 เซนติเมตร ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 0.6-2.1 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ชอบใบมีขน เส้นแขนงใบข้างละ 5-6 เส้น ก้านใบย่อยยาว 1 มิลลิเมตร
    กระถิน








  • ดอกกระถิน มีสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นตามซอกใบและปลายกิ่ง 1-3 ช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นสามเหลี่ยมเล็ก 5 แฉก มีขน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร
    กระถิน








  • ผลกระถิน เป็นฝักแบนแห้งแตก กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร โคนสอบ ปลายแหลม เมล็ดเรียงตามขวาง 15-30 เมล็ด สีน้ำตาลเป็นมัน
    กระถิน








ส่วนที่ใช้เป็นยา : ฝัก, เมล็ด, เปลือก, ราก

กระถินกระถินกระถิน

 

สรรพคุณ กระถิน :

  • ฝักอ่อน ,เมล็ด และยอดอ่อนมีรสมัน ใช้รับประทานเป็นผักสด กระถินเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงตับ ถ่ายพยาธิ โรคความดันโลหิตสูง ขับระดู ขับลม ฝักใช้ห้ามเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ท้องร่วง สมานแผล
  • ฝัก ของกระถินเป็นยาฝาดสมาน และเมล็ดเป็นยาถ่ายพยาธิได้
  • เปลือก ของกระถินมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมาน
  • ราก ใช้ปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ ขับลม ขับระดูขาว

 


เอกสารอ้างอิง

  1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
Scroll to top