กระตังใบเตี้ย

กระตังใบเตี้ย

ชื่ออื่นๆ : กระตังใบเตี้ย, กะตังใบเตี้ย, เขืองแข็งม้า, ต้างไก่เตี้ย, ต้างไก่แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์Leea thorelii Gagnep.
ชื่อวงศ์ : Leeaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระตังใบเตี้ย ไม้ลัมลุกอายุหลายปีทอดนอนตามพื้นดินหรืออาจสูงได้ถึง 1 มิลลิเมตร มีหัวใต้ดิน 
  • ใบกะตังใบเตี้ย หูใบติดบนก้านใบเป็นปีกแคบๆ กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ใบมี 3 ใบย่อยหรือใบประกอบย่อย 1-3 ใบ แกนกลางยาวได้ประมาณ 10 เซนติเมตร มีขนละเอียด บางครั้งเป็นปีกแคบๆกระตังใบเตี้ยก้านใบยาว 3-10 เซนติเมตร ใบย่อยมีหลายรูปแบบ ส่วนมากรูปไข่ รูปขอบขนานหรือเกือบกลม ยาว 3-12 เซนติเมตร มีขนกระจาย ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมนเป็นคลื่น ปลายกลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมหรือรูปลิ่ม ไม่เท่ากัน ก้านใบย่อยยาวได้ถึง 0.8 เซนติเมตร มีปีกแคบๆ 






  • ดอกกระตังใบเตี้ย ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีขนกระจาย ดอกแน่น ใบประดับรูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ติดทน ก้านช่อดอกยาว 1-5 เซนติเมตร กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงติดเป็นหลอดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร กลีบยาวประมาณ 0.1 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาวเท่าๆ หลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอกยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร หลอดเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาวประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกกัน ยาวประมาณ 0.1 เซนติเมตร รังไข่มี 4-6 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 0.1-0.2 เซนติเมตร
  • ผลกระตังใบเตี้ย ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 0.5-0.8 เซนติเมตร สีม่วงดำ เมล็ดมี 4-6 เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้ทำยา : หัว

สรรพคุณ กระตังใบเตี้ย :

  • หัว หัวใต้ดินผสมรากชงโคขาว ต้มน้ำดื่ม ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกำลัง

ข้อมูลเพิ่มเติม :

  • กะตังใบเตี้ยมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ ขึ้นหนาแน่นตามทุ่งหญ้าในป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงจนถึงประมาณ 250 เมตร
Scroll to top