กระดาดแดง

กระดาดแดง

ชื่ออื่น : กระดาดแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia indica var.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระดาดแดง เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 2 เมตร
    กระดาดแดง
  • ใบกระดาดแดง ใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปหัวใจ กว้าง 20-40 เซนติเมตร  ยาว 30-75 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้าลึก แคบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบใหญ่ ยาว 0.4-1.2 เมตร
  • ดอกกระดาดแดง ช่อดอกเป็นแท่งยาวปลายแหลม ลักษณะคล้ายดอกบอน ยาว 11-23 เซนติเมตร ก้านช่อดอกเล็ก ยาว 25-50 เซนติเมตร ดอกมีกาบสีเหลืองอมเขียวหุ้ม ส่วนโคนของกาบโอบรอบโคนช่อ ช่อดอกประกอบด้วยดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อ ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่วนบนเป็นดอกเพศผู้ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้มีจำนวนมากกว่าดอกเพศเมีย ระหว่างดอกเพศผู้และดอกเพศเมียคอด ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนปลายเป็นส่วนที่ไม่มีดอก ยาว 6.7-13 เซนติเมตร ปลายมน ดอกเพศเมียรังไข่มี 1 ช่อง มีออวุล 3-5 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียรูปหกเหลี่ยมตัด กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้สั้นกว่าและกว้างกว่าดอกเพศเมีย ค่อนข้างแบนทางด้านข้าง
  • ผลกระดาดแดง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติเมตร สุกสีแดง เนื้อนุ่ม มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้า

สรรพคุณ กระดาดแดง :

  • เหง้า  ใช้ปรุงเป็นยากัดเถาดานในท้อง นำมาปรุงกับน้ำมันตำเป็นยาสมานแผล กัดฝ้ากัดหนองได้ดี หากใช้กับสัตว์ให้นำหัวกระดาดแดงมาโขลกตำพอกแผลที่เป็นหนอง กัดหนอง หรือฆ่าหนองหรือกิมิชาติได้ใช้พอกแผลที่สัตว์เลียไม่ถึง มันจะฆ่าหนอนตายหมด
Scroll to top