หางไหลแดง

หางไหลแดง

ชื่อสมุนไพร : หางไหลแดง
ชื่ออื่นๆ :
โล่ติ๊น,หางไหล(ภาคกลาง),ไหลน้ำ,เครือไหลน้ำ(ภาคเหนือ),อวดน้ำ(สุราษฎร์ธานี),กะลำเพาะ(เพชรบุรี),โพตะโกส้า(กะเหรี่ยง)
ชื่อสามัญ : Tuba root, Derris
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris elliptica (Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหางไหลแดง เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง เถาหรือลำต้นมีลักษณะกลม โดยเถาที่แก่จะมีสีน้ำตาลปนแดง ส่วนเถาอ่อนและบริเวณเถาใกล้ๆปลายยอดจะมีสีเขียวซึ่งจะเห็นได้ชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง
    หางไหลแดง
  • ใบหางไหลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่เรียงสลับ ยาว 22.5-37.5 ซม.โดยจะมีใบย่อยสีเขียว 9-13 ใบ แต่ส่วนมากจะพบ 9 ใบ โดยใบจะเกิดเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ซึ่งใบคู่แรก (นับจากโคนก้านใบ) จะมีขนาดเล็กที่สุดและเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับจนถึงใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดจะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งมีขนาดของใบใหญ่ที่สุดลักษณะของใบจะเป็นรูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 7.5-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบด้านบนเป็นสีเขียวมัน มองเห็นเส้นแขนงลักษณะด้านท้องใบมีสีเขียวและเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน ใบอ่อนและยอดอ่อนจะมีสีน้ำตาลแดงและปกคลุมไปด้วยขนสั้นๆ
    หางไหลแดง
  • ดอกหางไหลแดง ดอกออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่งซึ่งช่อดอกแต่ละช่อมีความยาวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบล่างเป็นรูปโล่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูประฆัง กลีบเลี้ยงยาวได้ถึงประมาณ 6 มิลลิเมตร  ดอกเป็นสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว
    หางไหลแดง
  • ผลหางไหลแดง ผลออกเป็นฝักลักษณะแบนรูปขอบขนานปลายแหลม กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 3.5-8.5 เซนติเมตร ตะเข็บบนจะแผ่เป็นปีก ฝักอ่อนมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ และปริแตกเมื่อฝักแห้ง ภายในมีเมล็ดลักษณะกลมแบนเล็กน้อย 1-4 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  : เถาสด-แห้ง, ราก, ต้น

สรรพคุณ หางไหลแดง :

  • เถาสด เป็นยารักษาเหา หิด ขับระดูสตรีและบำรุงโลหิต เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต ยาสำหรับใช้เบื่อปลา ฆ่าแมลง ไล่แมลง
Scroll to top