มะเขือพวง

มะเขือพวง

ชื่อสมุนไพร : มะเขือพวง
ชื่ออื่นๆ : 
เจ็กมิ่งจำ, จุยเกีย(จีน), มะแคว้งกูลา, มะแคว้งกูลัว(เชียงใหม่), ปอลอ, ปอลือ(แม้ว-ภาคเหนือ), หมากแค้ง, มะเขือละคร(นครราชสีมา), รับจงกลม(เขมร-นครราชสีมา), ตะโกงลา, ในจะเคาะค่ะ(มลายู-สงขลา), มะแว้งช้าง, มะแว้ง(ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Green kyllinga, Perennial greenhead sedge, Shortleaf spikesedge
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum torvum Sw.
ชื่อวงศ์  : SOLANACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นมะเขือพวง เป็นไม้ข้ามปี ต่างจากมะเขืออื่นๆ ที่เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูง 1-3 เมตรเป็นต้นเดี่ยวจากดินแตกพุ่มด้านบน เป็นไม้พุ่มมีหนาม
    มะเขือพวง
  • ใบมะเขือพวง รูปไข่กว้าง ขอบใบเรียบหรืออาจเว้าเป็นรอยหยัก เรียงตัวแบบตรงข้าม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกมะเขือพวง เป็นดอกช่อ ดอกทรงแตรมีกลีบปลายแหลม 5 กลีบสีขาวหรือม่วง เกสรสีเหลือง
  • ผลมะเขือพวง เป็นผลแบบเบอร์รี่ อยู่เป็นช่อ ดอกหนึ่งๆ จะติดผลตั้งแต่ 2-3 ผลจนถึง 10 ผล ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียวหนาและเหนียว ลักษณะผลคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกมีสีเหลืองหรือสีส้มแดง เนื้อผลบาง ภายในเต็มไปด้วยเมล็ดกลม แบนสีน้ำตาลอัดแน่นผลละ 300-400 เมล็ด ผลมีรสขมกินได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, ใบ, ผล, ราก, ทั้งต้น

สรรพคุณ มะเขือพวง :

  • ลำต้น ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวด ฟกช้ำ
  • ใบ  ห้ามเลือด แก้ฝีบวม มีหนอง
  • ผล  ขับเสมหะ
  • ราก  รักษาแผลแตกบริเวณเท้า รากยังใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ
  • ทั้งต้น ใบมะเขือพวง และผลมะเขือพวง รสจืด เย็น และมีพิษเล็กน้อย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนองและอาการบวมอักเสบ
Scroll to top