ผกากรอง

ผกากรอง

ชื่อสมุนไพร : ผกากรอง
ชื่ออื่นๆ
: ก้ามกุ้ง, เบญจมาศป่า, ขะจาย, ตาปู, มะจาย(แม่ฮ่องสอน), ขี้กา(ปราจีนบุรี), คำขี้ไก่(เชียงใหม่), เบ็งละมาศ, สาบแร้ง, ยี่สุ่น(ตรัง), สามสิบ(จันทบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lantana camara  L.
ชื่อวงศ์ : Verbebaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ผกากรอง ไม้พุ่มเลื้อย สูง 2-3 เมตร ลำต้นเป้นสี่เหลี่ยม อาจมีหนามเล็กๆ ชี้ลง หรือไม่มีหนาม
    ผกากรอง
  • ใบผกากรอง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปไข่ ฐานใบโค้ง ปลายใบแหลม ขอบใบหยักโค้ง-หยักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านล่างปกคลุมด้วยขนละเอียด
    ผกากรอง
  • ดอกผกากรอง ดอกออกเป็นช่อเดี่ยวๆที่ปลายยอด เป็นช่อกระจุกแน่น กลีบประดับรูปสามเหลี่ยมยาว กลีบดอกผกากรองเลี้ยงแบนบาง ยาว 1-2 มิลลิเมตร ขอบหยักเป็น 2 หยักตื้นๆ กลีบดอกมักเป็นสีเหลือง ส้ม ส้มอมแดง แต่อาจมีสีชมพู ชมพูอมม่วง หรือสีขาว อาจมีหลายสีผสมกันในช่อดอกเดียว หยักเป็น 4 แฉก กว้าง 1-4 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้มีก้านสั้นมาก รังไข่รูปยาวรี

 

  • ผลผกากรอง ผลสีม่วง ดำ มีเนื้อผล ขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร
    ผกากรอง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ราก

สรรพคุณ ผกากรอง :

  • ใบ รสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผื่นคันเกิดจากชื้น หิด
  • ดอก รสชุ่ม จืด เย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก
  • ราก  แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม ฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก

[su_quote cite=”The Description”]วิธีและปริมาณที่ใช้
ใบสด – 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมเหล้าทา หรือต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
ดอกแห้ง – 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม
รากสด – 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มน้ำอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน[/su_quote]
ข้อห้ามใช้ : หญิงมีครรภ์ห้ามดื่ม

Scroll to top