ถวายนมัสการแล้ว ซึ่งพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้า เป็นที่พึ่งของโรค พระคัมภีร์แพทย์อันวิเศษ ชื่อ ปฐมจินดา นี้ เป็นหลักเป็นประธานแห่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง อันพระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ ได้แต่งไว้ในกาลก่อนโดยสังเขป เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ด้วยประการดังนี้
“พรหมปุโรหิต” (กำเนิดมนุษย์) ต้นเหตุที่มนุษย์เกิด เมื่อจะตั้งแผ่นดินใหม่มีเหตุการณ์ผ่านมาเป็นอันมาก แล้วเกิดฝนตกห่าใหญ่ลงมาถึง 7 วัน 7 คืน น้ำท่วมไปชั้นพรหมปุโรหิตๆ จึงเล็งลงมาดูจึงเห็นดอกอุบล 5 ดอก ผุดขึ้นมาเหนือน้ำงามหาที่จะอุปมาไม่ได้
“ท้าวมหาพรหม” จึงบอกแก่พรหมทั้งหลายว่า แผ่นดินใหม่นี้ จะบังเกิดสมเด็จพระพุทธเจ้ามาตรัส 5 พระองค์ เพราะได้เห็นดอกอุบลนั้น 5 ดอก คือ
-
- พระพุทธกกุสันโธ
- พระพุทธโกนาคม
- พระพุทธกัสสป
- พระพุทธสมณโคดม
- พระศรีอริยเมตไตรย์
ครั้น และบังเกิด “บุพนิมิต” ขึ้นแล้ว จึงน้ำค้างเปียกจากฝนซึ่งได้ตกลงมา 7 วัน 7 คืน แล้วก็เป็นระคนปนกันสนับข้นเข้า ดุจดังสวะอันลอยอยู่เหนือน้ำ โดยหนาสองแสนสีหมื่นโยชน์ อันนี้มีแจ้งอยู่ในพระคัมภีร์จักรวาลทีปนี
1.สัตว์ที่มาปฎิสนธิในชมพูทวีป มี 4 สถาน
-
- สัตว์ทีมาปฎิสนธิในครรภ์เป็น ชลามพุชะ (ตัว)
- สัตว์ที่มาเกิดเป็นฟองฟักฟองไข่ นั้น คือ อัณฑะชะ (ไข่)
- สัตว์ที่ปฎิสนธิด้วยเปือกตมนั้นชื่อ สังเสทชะ (หนอน)
- อุปปาติกะ สัตว์ปฎิสนธิเกิดเป็น อุปปาติกะ ไม่มีสิ่งใดๆ ก็เกิดขึ้น
2.มนุษย์ทั้งหลายถือปฎิสนธิแล้ว ก็คลอดจากครรภ์มารดา ถ้าเป็น สตรี จะมีประเภทผิดจากบุรุษ 2 ประการ คือ
-
- ต่อมเลือด (มดลูก)
- น้ำนมสำหรับเลี้ยงบุตร
ในคัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง พระดาบสองค์หนึ่ง ชื่อว่า “ฤทธิยาธรดาบส” ได้ซึ่งญานอันเป็นโลกีย์ หยั่งรู้ลักษณะหญิง และน้ำใจสตรีทั้งดี และชั่วต่างๆ และท่านดาบสพระองค์นี้ ได้เป็นอาจารย์ของชีวกโกมารภัจจ์
ชีวโกมารภัจจ์ จึงนมัสการถามถึงโรคแห่งกุมารว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อันว่ากุมาร และกุมารีทั้งหลาย ซึ่งเกิดมาในโลกนี้ ย่อมบังเกิดโรคต่างๆ ไม่เหมือนกัน ในพระคัมภีร์ปฐมจินดา กำเนิดซางนั้นว่า
* ถ้ากุมาร และกุมารีผู้ใด คลอดจากครรภ์ในวัน 2, 5, 6 (วันจันทร์, พฤหัสบดี, ศุกร์) โรคเบาบาง ฉันใดแลผู้เป็นเจ้า โรคนั้นจึงกลับมากลับไปเล่า ที่ว่ากุมาร
* ถ้ากุมารีคลอดออกจากครรภ์ในวัน 1, 3, 4, 7 (วันอาทิตย์, อังคาร, พุธ, เสาร์) นั้นว่าร้ายนักเลี้ยงยาก และโรคนั้นก็มาก ฉันใดแลผู้เป็นเจ้า โรคนั้นจึงเบาบางกลับเป็นดีไปเล่า คลอดวันที่ดีกลับร้าย รักษายากรักษาไม่รอดรักษาง่าย คลอดวันที่ร้ายกลับดี รักษาง่าย ดังนี้เป็นประการดังฤๅ พระคัมภีร์ปฐมจินดากำเนิดซางนั้นร้ายนักเลี้ยงก็ยาก
* ถ้ากุมาร กุมารีเกิดมาในวัน 1, 3, 4, 7 จะไม่ตายเสียสิ้นแลหรือ เกิดมาในวัน 2, 5, 6 นั้นเลี้ยงง่ายก็ตกซึ่งว่ากุมาร กุมารี เกิดมาในวันเหล่านี้ จะไม่รู้ตายแล้วหรือพระผู้เป็นเจ้า
ฝ่ายพระฤๅษี ฤทธิยาธรดาบส จึงวิสัชนาว่า สัตว์เกิดมาในภพสงสารนี้ ซึ่งเกิดมาในวันที่ดีไม่มีสิ่งอันใดขัดขวาง พ้นแผนซางที่ร้ายแล้ว แต่ว่าเลี้ยงยากนั้น เหตุทั้งนี้ก็เพราะน้ำนมของมารดานั้นให้โทษแก่กุมารนั้นเอง อนึ่ง กุมารจะเกิดมาในวันที่ร้ายแล้วต้องแผนซางที่ร้าย แต่ว่าเลี้ยงง่ายนั้น อาศัยน้ำนมแห่งมารดานั้นดี กุมารีได้บริโภคจึงวัฒนาการเจริญขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะน้ำนมสตรีดี และร้ายมีอยู่ 6 จำพวก ท่านจงทราบด้วยประการดังนี้ พระฤๅษีสิทธิดาบส เธอจึงนำเอาลักษณะน้ำนมชั่ว ซึ่งกุมารบริโภคเป็นโทษ 2 จำพวก และลักษณะแห่งน้ำนมแม่ที่ดี ซึ่งกุมารดื่มแล้วไม่ได้เป็นโทษ 4 จำพวก ดังนี้
3.ลักษณะน้ำนมให้โทษแก่กุมารในหญิง 2 จำพวก คือ
-
- หญิงมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ
มีลักษณะ : ลูกตาแดง เนื้อขาวเหลือง นมยาน หัวนมเล็ก เสียงพูดแหบ เครือดังเสียงการ้อง ฝ่ามือและเท้ายาว ห้องตัวยาว จมูกยาว หนังริมตาหย่อน สะดือลึก ไม่พี ไม่ผอม สันทัดคน กินของมาก ลักษณะหญิงอย่างนี้ชื่อว่า หญิงยักขินี เป็นหญิงมีกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป มักบังเกิดโรคต่างๆ แม่นมออย่างนี้ท่านให้ยกเสียพึงเอา - หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ
มีลักษณะ : ตาแดง ผิวเนื้อขาว นมดังคอน้ำเต้าริมฝีปากกลม เสียงแข็ง ดังเสียงแพะ ฝ่าเท้าใหญ่ข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่ง เจรจาปากไม่มิดกัน เดินไปมามักสะดุด ลักษณะหญิงอย่างนี้ ชื่อว่า หญิงหัศดี เป็นหญิงกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป ดุจดังเอายาพิษให้บริโภค แม่นมอย่างนี้ ท่านให้เลือกออกเสีย อย่าพึงเอา
- หญิงมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ
4.ลักษณะแห่งแม่นมที่ดี ซึ่งกุมารดื่มน้ำนมไม่ได้เป็นโทษนั้นมี อยู่ 4 จำพวก คือ
-
- หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมดังกล้วยไม้
มีลักษณะ : ไหล่ผาย สะเอวรัด หลังราบ สัณฐานตัวดำ และเล็ก แก้มใส มือ และเท้าเรียว เต้านมดังอุบลพึ่งแย้ม ผิวเนื้อแดง เสียงดังเสียงสังข์ รสน้ำนมนั้นหวาน มันเจือกัน ลักษณะหญิงอย่างนี้ ท่านจัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณีให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดดีนัก - หญิงที่มีกลิ่นตัวดังดอกอุบล
มีลักษณะ : เสียงดังเสียงแตร ไหล่ผาย ตะโพกรัด แก้มพอง นิ้วมือ และนิ้วเท้าเรียวแฉล้ม เต้านมดังบัวบาน ผิวเนื้อเหลือง น้ำนมมีรสหวาน ลักษณะหญิงอย่างนี้ท่านจัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดดีนัก - หญิงที่มีกลิ่นตัวไม่ปรากฏหอม หรือเหม็น
มีลักษณะ : เอวกลม ขนตางอน จมูกสูง เต้านมกลม หัวนมงอนดังดอกอุบลพึ่งจะแย้ม รสน้ำนมนั้นหวานมันสักหน่อย ลักษณะหญิงอย่างนี้ ท่านว่าเป็นหญิงเบญจกัลยานี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมาร บริโภคเถิด น้ำนมดีนัก - หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมเผ็ด
มีลักษณะ : เสียงดังเสียงจักจั่น ปากดังปากเอื้อน ตาดังตาทราย ผมแข็งชัน ไหล่ผาย ตะโพกผาย หน้าผากสวย ท้องดังกาบกล้วย นมพวง น้ำนมขาวดังสังข์ รสน้ำนมมันเข้มสักหน่อย เลี้ยงลูกง่าย ลักษณะหญิงจำพวกนี้ ท่านคัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดน้ำนมดีนัก ลักษณะแม่นม 4 จำพวกนี้ แม่นมเบญจกัลยานี ท่านจัดสรรเอาไว้ถ่ายพระมหาบุรุษราชเจ้าได้ เสวยครั้งนั้น เรียกว่า ทิพโอสถประโยธร ดุจน้ำสุรามฤต ถ้ากุมาร และกุมารีผู้ใดได้บริโภค ดุจดื่มกินซึ่งโอสถ อันเป็นทิพย์ น้ำนมที่กล่าวมาทั้ง 4 จำพวก ถึงว่ากุมารผู้นั้นจะมีโรค ก็อาจบำบัดโรคได้ เพราะน้ำนมมีคุณดังโอสถ และมิได้แสลงโรค
- หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมดังกล้วยไม้
ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษากุมารไปเบื้องหน้า ให้พิจารณาดุน้ำนมแห่งแม่นม และน้ำนมแห่งมารดานั้นก่อน ถ้าเห็นว่านมนั้นยังเป็นมลทินอยู่ ท่านให้แต่งยาประสะน้ำนม นั้นเสียก่อน จึงจะสิ้นมลทินและโทษทั้งปวง ถ้าแพทย์จะพิจารณาดูน้ำนมดีและร้ายนั้น ให้เอาใส่ขันแล้วให้แม่นมนั้นหล่อนมองดู ถ้าสี และน้ำนมขาว ดังสีสังข์ และจมลงในขัน สัณฐานเหมือนดังลูกบัวเกาะ นมอย่างนี้ จัดเอาเป็นน้ำนมอย่างเอก ถ้าหล่อน้ำนมลง และน้ำนมนั้นกระจาย แต่ว่าขันจมลงถึงก้นขันแค่ไม่กลมเข้า น้ำนมอย่างนี้ จึงเอาเป็นน้ำนมอย่างโท ถ้าพ้นจากน้ำนม 2 ประการนี้แล้ว ถึงจะมีลักษณะประกอบไปด้วยยศ ศักดิ์ขาติตระกูลปานใดก็ดี ถ้ามีกุศลหนหลังยังติดตามบำรุงรักษา ไม่ให้เกิดโรคาพยาธิ รสน้ำนมนั้นเปรี้ยว ขม, ฝาด, จืด, จาง, และมีกลิ่นอันคาวนั้น ก็จัดเป็นน้ำนมโทษทั้งสิ้งดุจกล่าวมา นอกจากนี้ยังมีน้ำนมพิการอีก 3 จำพวก ถ้าให้กุมารบริโภคเข้าไป ดุจให้บริโภคยาพิษ จะบังเกิดโรคต่างๆ
5.สตรีมีโลหิต 5 ประการ โลหิตปกติโทษ
(สตรีมีโลหิตระดูปกติโทษ) 5 ประการ คือ สัตว์ที่จะมาปฎิสนธิ ในมาตุคัพโภทร (ในท้องมารดา) ก็เพราะโลหิตระดูบริบูรณ์
-
- ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่หทัย (หัวใจ)
- ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่ดี และตับ
- ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่เนื้อ
- ลักษณะโลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น
- ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่กระดูก
6.ลักษณะน้ำนมพิการ 3 จำพวก คือ
-
- สตรีขัดระดู
- สตรีอยู่ไฟมิได้ และน้ำนมนั้นเป็นน้ำนมดิบ
- สตรีมีครรภ์อ่อน เป็นน้ำเหลือง ไหลหลั่งลงในน้ำเป็นสายโลหิตกับน้ำนมระคนกัน
ถ้าแพทย์จะพยาบาล ให้พึงพิจารณา โรคพยาธิและชาตินรลักษณ์ แห่งแม่นมนั้นก่อน ถ้าประกอบไปด้วยโทษประการหนึ่งประการใดก็ดี ให้ประกอบยา ประจะโลหิต และรุน้ำนม บำรุงธาตุ ให้โลหิตและน้ำนมนั้น บริบูรณ์ ก่อนจึงจะสิ้นโทษร้าย ถ้าน้ำนมลอยเรี่ยรายอยู่ไม่คุมกันเข้าได้ ท่านว่าเป็นเพราะโลหิตกำเริบ ให้แต่งยา ประจุโลหิตร้ายเสียก่อน โลหิตจึงจะงาม น้ำนมจึงจะบริบูรณ์
7.ลักษณะน้ำนมเป็นโทษ อีก 3 จำพวก
คือ มารดาอยู่ไฟมิได้ ท้องเขียวดังท้องค่าง ครั้นมารดาออกจากเรือนไฟแล้วให้กุมารดื่มน้ำนมเข้าไป ก็อาจให้เป็นโรคต่างๆ ด้วยดื่มน้ำนมเป็นโทษ 3 ประการ ดังนี้
-
- น้ำนมจาง สีเขียว ดังน้ำต้มหอยแมลงภู่
- น้ำนมจาง มีรสเปรี้ยว
- น้ำนมเป็นฟองลอย
น้ำนมทั้ง 3 ประการนี้ย่อมเบียดเบียน กุมาร กุมารีทั้งหลาย ซึ่งได้บริโภคนั้นกระทำให้เกิดโรคต่างๆ บางทีกระทำให้ลงท้อง บางที่กระทำให้ท้องขึ้น บางที กระทำ ให้ตัวร้อน บางทีกระทำให้ปวดมวนในท้อง ทั้งนี้เป็นมลทินโทษแห่งน้ำนม เพราะน้ำนมดิบให้โทษเป็น 3 ประการดังนี้
พระอาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้ อันว่าแพทย์ทั้งหลายมิได้ถือเอาซึ่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ อิ่มไปด้วยโลภ ด้วยหลงมี ใจอันถือทิฐิมานะ อันว่าแพทย์ผู้นั้น ชื่อว่ามีตาอันบอดประกอบไปด้วยโทษ ด้วยประการดังนี้
แพทย์ผู้ใดมิได้เรียนซึ่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์ มิได้รู้จักกำเนิดแห่งซาง และสรรพคุณยาทั้งหลาย ได้แก่ ตำราซึ่งท่านเขียนไว้ ก็นำไปเที่ยวรักษา ด้วยใจโลภ จะใคร่ได้ทรัพย์แห่งท่านประการ 1 ถือทิฐิมานะว่า ตัวรู้กว่า คนทั้งหลายประการหนึ่ง หลงใหลถือผิดเป็นชอบประการ 1 มีความโกรธแก่ท่านประการ 1 ทั้ง 4 ประการนี้ ท่านว่าเป็นหมอโกหก อย่างนี้ในเมืองโสฬสมหานคร ท่านจับเอาตัวมาฆ่าเสียเป็นอันมาก ท่านทั้งปวงพึงรู้เถิด ท่านว่าเป็นหมอโกหก อย่างนี้ในเมือง โสฬสมหานคร ท่านจับเอาตัวมาฆ่าเสียเป็นอันมาก ท่านทั้งปวงพึงรู้เถิด
อนึ่งแพทย์มิได้รู้จักกำเนิดแห่งโรคนั้น และวางยาให้ผิดแก่โรค มีดุจพระบาลีกล่าวไว้ ดังนี้
-
- วางยาผิดโรคครั้งหนึ่งดุจประหารด้วยหอก
- วางยาผิดโรคสองครั้งดุจเผาด้วยไฟ
- วางยาผิดโรคสามครั้งดุจต้องสายฟ้าฟาดคือฟ้าผ่า
อันว่า โรคจะกำเริบขึ้นกว่าเก่า ได้ร้อยเท่า พันเท่า อันว่าแพทย์ผู้นั้น ครั้นกระทำผิดซึ่งกาลกิริยาตายแล้ว ก็จะเอาไปปฏิสนธิในนรก
8.ครรภ์รักษา
สตรีทั้งปวงครรภ์ก็ตั้งขึ้น (มีครรภ์) ได้ 15 วันก็ดี หรือ 1 เดือนก็ดี จะแสดงให้ปรากฏแก่ คนทั้งหลายว่า ตั้งครรภ์มีเส้นเอ็นสีเขียวผ่านหน้าอก หัวนมก็ดำคล้ำขึ้น และตั้งขึ้น กับมีเม็ดครอบหัวนม แพทย์พึงรู้ว่า สตรีนั้นตั้งครรภ์แล้ว ในระหว่างตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 10 เดือน มารดา มักจะมีโรคหรืออาการต่างๆ จึงมียาครรภ์รักษา ใช้รักษาและป้องกันไม่ให้มีการแท้ง หรือตกเลือดได้
9.ครรภ์วิปลาส
ว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้ครรภ์ตกไป (เกิดการแท้งหรืออันตรธาน) มีอยู่ 4 ประการคือ
-
- สตรีมีครรภ์นั้น บังเกิดกามวิตกหนา ไปด้วยเตโชธาตุสมุฏฐาน ไฟราคะเผาผลาญแรงกล้าอยู่เป็นนิจ ทำให้ครรภ์นั้นตกไป (แท้ง) หรืออันตรธานไป(เพราะธาตุไฟกำเริบ)
- สตรีมีครรภ์ กินของที่ไม่ควรจะกินก็กิน กินของที่เผ็ดร้อนต่างๆ หรือของที่กินแล้ว ให้มีอาการ ลงท้อง หรือยาที่ให้แสลงโรคต่างๆ กินยาขับโดยตั้งใจ (เพราะธาตุน้ำกำเริบ)
- สตรีมีครรภ์มีจิตมากด้วยความโกรธแล้วทำร้ายตัวเอง หรือเป็นผู้หญิงปากร้าย ไม่รู้จักซึ่งโทษมีแก่ตน ใช้ถ้อยคำหยาบช้าด่าว่าสามีตนและผู้อื่น ถูกเขาทำโทษทุบถองโบยตี ด้วยกำลังแรงต่างๆ สตรีผู้นั้นก็เจ็บ ซึ่งครรภ์แห่งหญิงนั้นก็ตกไป
- สตรีมครรภ์ลูกถูกปีศาจทำโทษต่างๆ ครรภ์นั้นก็มิตั้งขึ้นได้ หรือต้องสาตราคมคุณไสยเขากระทำก็ดี ลูกที่อยู่ในครรภ์นั้นก็ตกไป
10.ครรภ์ปริมณฑล
ในระยะ 10 เดือน ที่สตรีตั้งครรภ์ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บ เกิดขึ้นได้จัดยา ไว้สำหรับแก้ไข้ แก้บิดมูกเลือด แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด แก้ไข้ร้อนๆหนาวๆ ระส่ำระสาย ลิ้นกระด้างคางแข็ง ยาสำหรับครรภ์ 7-8 เดือน กุมารไม่ดิ้น ยาให้คลอดง่าย และยาชักมดลูก เป็นต้น
11.ครรภ์ประสูติ
ว่าด้วยทารกคลอดจากครรภ์มารดา ด้วยอำนาจแห่งลม กัมมัชวาตพัดกำเริบ ให้เส้นและเอ็นที่รัดตัว กุมารไว้คลาย ออกพร้อมก็ให้ศีรษะกลับลงเบื้องต่ำ ฤกษ์ยามดี แล้วก็คลอด จากครรภ์มารดา เรียกว่า ตกฟาก และในระยะปฐมวัย ตั้งแต่ทารกรู้ชันคอ จนถึงระยะรู้ย่าง รู้เดิน ก็จะมีลักษณะสำรอก 7 ประการ และระยะ ดังกล่าวก็จะมีโรคเกิดกับทารกอยู่ก่อน แล้ว มีโรคอื่นจรมาแทรกมาทับ เรียกโรคทับ 8 ประการ
12.ดวงซาง
เกิดซาง 9 จำพวก เกิดขึ้นจรในกินไส้พุง ตับ ปอด และหัวใจ
-
- ซางฝ้าย เกิดในลิ้น ในปาก เป็นซางจรมาแทรกซางน้ำเจ้าเรือน
ลักษณะ เป็นฝ้าขาวดาดไปเป็นเหมือนวงฝ้ายมีใยดุจสำลี ขึ้นที่เพดาน กระพุ้งแก้ม ไรฟัน และที่ลิ้น อาการ ให้ปากร้อน,ปากแห้ง,น้ำลายแห้ง,หุบปากไม่ลง,อ้าปากร้อง,อาหารไม่ได้ อาเจียนเป็นกำลัง, ให้ท้องเดิน, กลิ่นเหม็นดังไข่เน่า ซางฝ้ายทำโทษ กำหนด 6 เดือน รวมกับซางน้ำเจ้าเรือน ถึงอายุ 2 ขวบ 15 วัน - ซางขุม กลางลิ้นนั้นขึ้นซีดขาว
- ซางข้าวเปลือก เกิดในลิ้น ในปาก ดังลิ้นวัว
- ซางข้าว ดวงดังนี้
- ซางควาย ดวงดังนี้
- ซางม้า ดวงดังนี้ ครั้นถึง 2 วันติดกันเข้ามา มีสีดำ เขียวร้ายนัก
- ซางช้าง ดวงดังนี้ ถ้าหวำและกลางแดง มักให้ลงท้อง
- ซางโจร ดวงดังนี้ มักขึ้นในไส้พุง และหัวตับ กระดูกสันหลัง ครั้นแก่นานหนัก ขึ้นมาดังดอกบุก
- ซางไฟ ถ้าขึ้นกลางลิ้นนั้น ลิ้นดำและริมแดง ร้ายนัก
- ซางฝ้าย เกิดในลิ้น ในปาก เป็นซางจรมาแทรกซางน้ำเจ้าเรือน
13.ลักษณะซาง
-
- ซางโจร ขึ้นยอดดำเชิงแดง ขึ้นที่ต้นกรามทั้งสองข้าง ให้ลงท้องแต่ในเขตอายุ 1 เดือน ไปจนถึง 10 เดือน ให้ลงท้องเป็นดังส่าเหล้า ถ้าขึ้นตับ ถ่ายอุจจาระดำ ออกมา ขึ้นในไส้อ่อน ( ลำไส้เล็ก) ให้ถ่ายอุจจาระสีเขียวดังใบไม้ ถ้าขึ้นในให้หลังโกง และขัดปัสสาวะ มักให้เป็นนิ่ว ( นิ่วซาง) ให้ ปัสสาวะขาวดุจน้ำปูน
- ซางนิล ซางนี้มาเกิดในกระหม่อม แล้วลงมาเกิดขึ้นในเพดานยอด 1 หรือ 3 ยอด 4 ยอด ครั้นได้ 2 เดือน 3 เดือน ก็กระจายออกมาขึ้นเหงือก และกรามทั้ง 2 ข้าง ให้เจ็บปวด มีพิษทั่วไป