พลู แก้อาการกลากเกลื้อน
พลู : Piper betle Linn.
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
ขนาดและวิธีใช้ : ใบพลูสดประมาณพอเหมาะล้างให้สะอาด ตำละเอียดผสมแอลกอฮอล์หรือเหล้าขาว คั้นน้ำทาอย่างน้อยวันละ 4-5 ครั้ง จนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
ทองพันชั่ง แก้อาการกลากเกลื้อน
ทองพันชั่ง : Rhinacanthus nasutus Kurz.
ส่วนที่ใช้ : ใบหรือราก สดหรือแห้ง
ขนาดและวิธีใช้ : ใบหรือรากสดหรือแห้งของทองพันชั่งตำให้ละเอียด แช่เหล้าหรือแอลกอฮอล์พอท่วมยาและทิ้งไว้ 7 วัน นำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ หรือวันละ 3-4 ครั้งจนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
ชุมเห็ดเทศ แก้อาการกลากเกลื้อน
ชื่อท้องถิ่น ชุดเห็ดใหญ่ (ภาคกลาง) , ขี้คาก , ลับมึนหลวง , หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ) , ส้มเห็ด (เชียงราย) , จุมเห็ด (มหาสารคาม) , ตะลีพอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช ชุมเห็ดเทศเป็นไม้พุ่ม ใบรูปใข่หรือรูปใข่ขอบขนาน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน...
ข่า แก้อาการกลากเกลื้อน
ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)
ลักษณะของพืช ข่ามีลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า “เหง้า” เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลือง และมีกลิ่นหอมเฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดินสูงได้ถึง 6 เมตร ใบสีเขียวออกสลับข้างกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ยอดดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวนวล ด้านในของกลีบดอกมีประสีแดงอยู่ด้านหนึ่ง ผลเปลือกแข็งรูปร่างกลมรี
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่ สด หรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงเวลาที่เหง้าแก่
รสและสรรพคุณยาไทย เหง้าข่า...
กระเทียม แก้อาการกลากเกลื้อน
ชื่อท้องถิ่น หอมเทียม (เหนือ), กระเทียม หัวเทียม (ภาคใต้), กระเทียมขาว (อุดรธานี),หอมขาว(อุดรธานี), กระเทียม (กลาง), ปะเซวา (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ ติดกันแน่น เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะ บางครั้งในหนึ่งหัวมีกลีบเดียว เรียก...