ป่าช้าเหงา

ป่าช้าเหงา

ชื่อสมุนไพร : ป่าช้าเหงา
ชื่ออื่น ๆ
: ป่าช้าหมอง, หนานเฉาเหว่ย, หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่, ป่าเฮ่วหมอง, บิสมิลลาฮ์
ชื่อสามัญ : Bitterleaf tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnanthemum extensum
ชื่อวงศ์ : Asteraceae

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นป่าช้าเหงา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงตั้งแต่ 3-7 เมตร
    ป่าช้าเหงา ป่าช้าเหงา
  • ใบป่าช้าเหงา ลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบเป็นขอบขนาน ขนาดใบกว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 9-22 ป่าช้าเหงาเซนติเมตร

 

 

 

  • ดอกป่าช้าเหงา มีดอกเป็นช่อสั้น ๆ ดอกตัวผู้จะมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกรวมกันเป็นกระจุกเล็ก ๆ กว้าง 12 มิลลิเมตร มีกลีบรองดอก 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก แต่จะมีเกสรอยู่มาก ส่วนดอกตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายกันแต่จะมีรังไข่ที่เหนือวงกลีบ และมีขนดอกหนาแน่น
  • ผลป่าช้าเหงา ผลมีลักษณะเกือบกลม ผิวเกลี้ยง ขนาดผลประมาณ 2 เซนติเมตร และแบ่งออกเป็นพูเล็ก ๆ จำนวน 3 พู ผลอ่อนจะมีเนื้อสีเขียว ส่วนผลแก่จะมีเนื้อสีเหลืองแสด เมล็ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือ 7-8 มิลลิเมตร โดยหนึ่งผลจะมี 3 เมล็ดอยู่ในแต่ละพูของผล มีเนื้อเยื่อขาว ๆ หุ้มอยู่

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ

สรรพคุณ ป่าช้าเหงา :

  • ใบสด ตำราจีนระบุว่า ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อต้านโรคเก๊าต์ ต่อต้านโรคเบาหวาน แก้โรคไขมันสูง รักษาโรคไทรอยต์ต่ำ ไม่เหมาะกับผู้มีไทรอยต์สูง ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยรักษาหูดให้หลุดออกและผิวเรียบปรกติ ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก เพิ่มสมรรถนะทางเพศ รักษาโรคใจสั่น ช่วยให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น

ต้นป่าช้าเหงา หรือ หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดจากจีน และเป็นพืชกลุ่มเดียวกับฟ้าทลายโจร และพญายอ นิยมปลูกเพื่อเป็นสมุนไพร รักษาอาการของโรคต่างๆ ส่วนที่นำมาทานเพื่อบรรเทาอาการของโรค คือ ใบสด ที่มีรสขมจัด

ปริมาณของใบป่าช้าเหงาที่ควรทาน

  1. ทานเป็นอาหาร
    ทานใบป่าช้าเหงาโดยนำใบมารองกระทงห่อหมกแทนใบยอ หรือยำดอกขจรใส่ดอกป่าช้าเหงา คนพื้นบ้านนิยมกินช่วงเปลี่ยนฤดู ปลายฝนต้นหนาว เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เจ็บป่วย (นิยมนำมาลวกน้ำร้อนก่อนรับประทาน เพื่อลดความขม และลดฤทธิ์ยา วันละ 3-5 ใบ)
  2. ทานเป็นยา
    เช่น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือกินบำรุงร่างกาย
    *กินใบสด ถ้ากินใบใหญ่เท่าฝ่ามือ วันละ 1 ใบ กินบ้างหยุดบ้าง เช่น กินวันเว้นวัน หรือ 2-3 วันกินที ถ้าจะกินทุกวัน แนะนำวันละ 1-2 ใบเล็กๆ ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน อาจเว้น 1 เดือน แล้วเริ่มกินใหม่
    *ต้มกิน ใบเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด 3-5 นาที ดื่ม 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหารเช้า วันละ 1 ครั้ง ตอนตื่นนอน กินบ้างหยุดบ้าง

    ไม่แนะนำให้กินทุกวัน หรือกินต่อเนื่อง เพราะเป็นยาเย็น
    (จากการใช้ของคนไทใหญ่และทางใต้ มักกินไม่เกินวันละ 5 ใบ)

ข้อควรทราบก่อนทานใบป่าช้าเหงา

  • สมุนไพรไม่ได้ทำให้โรคดังกล่าวหายขาด ห้ามหยุดยาแผนปัจจุบัน ห้ามขาดการรักษา
  • ผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ความดันตก (BP < 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาจมีวิงเวียน หน้ามืด) น้ำตาลตก (ระดับน้ำตาล < 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจมีวิงเวียนหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อกออก) ต้องหยุดกินทันที
  • จากรายงานการใช้ พบว่าให้ผลลดความดันและน้ำตาลได้เร็ว และลดได้มาก ในผู้ป่วยบางราย (Haemolytic properties) แต่บางรายงานก็ไม่พบผลดังกล่าว
  • พบพิษต่ออัณฑะในหนูเพศผู้ เมื่อใช้ติดต่อกัน 5-6 วัน ระวังการใช้ติดต่อกันนานหรือเข้มข้นในชายวัยเจริญพันธุ์
Scroll to top