สมุนไพรแก้ท้องร่วง ท้องเดิน

ยาแก้ท้อวงร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค)

ชา

ชื่ออื่นๆ                 เมี่ยง, เมี่ยงป่า (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ใบตากแห้ง

ขนาด                     ใบชา 2 – 3 หยิบมือ

วิธีใช้                      ใช้น้ำเดือดชงชาให้ได้น้ำชาแก่ๆ ดื่ม ถ้าท้องเดินธรรมดาจะหายเมื่อรับประทาน 2 – 3 ครั้ง


สมอพิเภก

ชื่ออื่นๆ                 ซิปะดู้ (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่), ลัน (เชียงราย), สมอแหน (กลาง), สะคู้ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ผลแก่

ขนาด                     2 – 3 ผล

วิธีใช้                      ใช้ผลสมอพิเภกแก่จำนวน 2 – 3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน


ฝรั่ง

ชื่ออื่นๆ                 จุ่มโป่ (สุราษฎร์), ชมพู่ (ปัตตานี), มะก่อย (เชียงใหม่), มะก้อยยา, มะมั่น (เหนือ), มะกา (แม่ฮ่องสอน), มะจีน (ตาก), มะยู, เตปันยา (นราธิวาส), ยะริง (ลาว้า – เชียงใหม่), ยามู, ย่ามู่ (แหลมลายู), สีดา (นครปฐม)

ส่วนที่ใช้               ใบเพสลาด เปลือกต้นสดๆ

ขนาด                     ใบ 6 – 8 ใบ เปลือกต้น 1 ฝ่ามือ

วิธีใช้                      ใช้ใบเพสลาดสด เคี้ยวให้ละเอียด กลืนน้ำตาม หรือใช้ใบหรือเปลือกต้มรับประทาน ใช้น้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง


ทับทิม

ชื่ออื่นๆ                 พิลา (หนองคาย), พิลาขาว, มะก่องแก้ว (น่าน), มะเก๊าะ (เหนือ), หมากจัง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), เซียะลิ้ว (จีน)

ส่วนที่ใช้               เปลือกผล

ขนาด                     ใช้เปลือกของผลที่แก่ กว้างประมาณ 1 ยิ้ว ยาว 1 ½ นิ้ว

วิธีใช้                      ให้เปลือกผลฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนแกง


หมากดิบน้ำค้าง

ชื่ออื่นๆ                 ผักขวง, สะเดาดิน (กรุงเทพฯ), แป๊ะฮวยเกี๋ย, จูเกี๋ยเช้า (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง


มะตูม

ชื่ออื่นๆ                 มะปิน (เหนือ), กะทันตาเถร, ตุ่มตัง (ลานช้าง), ตูม (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะปิส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช่               ผลโตเต็มที่ ผ่านบางๆ ทำให้แห้ง หรือใช้คั่วให้เหลือง

ขนาด                     2 – 3 ชิ้น

วิธีใช้                      ใช้ชงด้วยน้ำเดือด ความแรง 1: 10 ใช้ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้วดื่มครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว


ฝาง

ชื่ออื่นๆ                 ง้าย (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (กลาง), หนามโค้ง (แพร่), โซบั๊ก (จีน)

ส่วนที่ใช้               แก่น

ขนาด                     หนัก 3 – 9 กรัม 4 – 6 ชิ้น

วิธีใช้                      ใช้แก่นต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ฝาง 1 ส่วน น้ำ 20 ส่วนต้มเคี่ยว 15 นาที รับประทานครั้งละ 2 -4 ช้อนโต๊ะ หรือ 4 – 8 ช้อนแกง


ขมิ้นชัน

ชื่ออื่นๆ                 ขมิ้น (ทั่วไป), ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่), ขี้มิ้น, หมิ้น (มลายู),

ตายอ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร), สะยอ (กะเหรี่ยง – แม่อ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               เหง้าแก่สด

ขนาด                     เหง้าสดยาว 2 นิ้ว

วิธีใช้                      เอาเหง้าสดมาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดเติมน้ำคั้นเอาเเต่น้ำรับประทาน ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ 3 – 4 ครั้ง


สีเสียด (เปลือก)

ชื่ออื่นๆ                 เบ้ (กะเหรี่ยง), สีเสียดเปลือก (กลาง, มลายู)

ส่วนที่ใช้               เปลือกต้น ใบ ราก

ขนาด                     เปลือก ¼ ฝ่ามือ, ใบ 10 – 15 ใบ

วิธีใช้                      ใช้เปลือกต้น ใบหรือราก 1 ส่วน ชงกับน้ำต้มเดือดหรือต้มกับน้ำ 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนแกง เหมาะสำหรับรักษาโรคท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ


มังคุด

ชื่ออื่นๆ                 แมงคุด (ไทย), เมงค็อพ (พม่า)

ส่วนที่ใช้               เปลือกผล

ขนาด                     ครึ่งผล ประมาณ 4 – 5 กรัม

วิธีใช้                      ใช้เปลือกมังคุดต้มกับน้ำ ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ถ้าทำเป็นยาดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา เหมาะสำหรับรักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้


แคบ้าน

ชื่ออื่นๆ                 แค (กลาง), แคแดง (เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้               เปลือกต้น

ขนาด                     1 ฝ่ามือ ประมาณ 40 กรัม

วิธีใช้                      เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประานครั้งละ 1 – 2 ช้อนแกง


กระชาย

ชื่ออื่นๆ                 กะแอน, ระแอน (เหนือ), จี๊ปู่, ซีพู (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), เป๊าะซอเราะ, เป่าสี่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

ส่วนที่ใช้               เหง้าสด

ขนาด                     1 – 2 เหง้าสด

วิธีใช้                      ตำหรือฝนเหง้าที่ปิ้งไฟแล้วกับน้ำปูนใส ใช้ 1 – 2 เหง้า ฝนหรือคั้นให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนแกง


ลังสาด

ชื่ออื่นๆ                 ดูเกโก (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ลางสาด (กลาง), ลาซะ (ใต้),

ส่วนที่ใช้               เปลือกผลที่รับประทานเนื้อแล้ว

ขนาด                     เปลือกสดหรือเปลือกแห้ง 10 ผล

วิธีใช้                      หั่นคั่วเล็กน้อย ชงน้ำเดือดๆ รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว

Scroll to top