สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง และผื่นคัน

กระเบา

ชื่ออื่นๆ                 กระเบาตึก (เชมร – ตะวันออก), กระเบาน้ำ, กระเบาข้าวแข็ง, กระเบาข้าวเหนียว, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง, แก้วกาหลง (กลาง), กระตงดง (เชียงใหม่), กราเบา (เขมร), ดงกะเปา (ลำปาง), เบา (สุราษฎร์ธานี), กะเบาใหญ่ (นครราชสีมา), มะกูลอ (เหนือ), กูลา (ปัตตานี), หัวค่าง (ประจวบคีรีขันธ์), ตัวโอ่งจี๊ (จีน)

ส่วนที่ใช้               น้ำมันจากเมล็ด หรือเนื้อในเมล็ด

ขนาด                     5 – 10 เมล็ด

วิธีใช้                      กะเทาะเปลือกของเมล็ดออก ตำเนื้อในให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชลงไปพอแฉะ ใช้ทาโรคผิวหนังได้ทุกชนิด


สะบ้า

ชื่ออื่นๆ                 ม๊อกแกมื่อ (ละว้า – เชียงใหม่), มะนิม, หมากงิม (ฉาน – เชียงใหม่), มะบ้า (ทั่วไป), คำต้น, มะบ้าหลวง (เหนือ), สะบ้ามอญ (กลาง), หมากหนิม (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), เดื่อหมากป้าหนัง, สะบ้าแฝก, ม้าบ้า (กลาง), กาบ้า, อางแม่ละมุง (สุราษฎร์ธานี), สะบ้าแดง, สะบ้าหนัง (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               เนื้อในเมล็ดของสะบ้า

ขนาด                     1 เมล็ด

วิธีใช้                      นำเอาเมล็ดสะบ้าแกะเปลือกแดงน้ำตาลออก เอาเนื้อสีขาวบดให้ละเอียดแล้วเติมน้ำมันมะพร้าวลงไปพอแฉะ ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง


แห้วหมูเล็ก, กกดอกขาว

ชื่ออื่นๆ                 หญ้ากกดอกขาว (ก.ท.) หญ้าขนหมู (พายัพ), หญ้าก๊ดหมู, สลาบก๊ดหมู (ลำพูน), เฮียงหูจิ๋ว (แต้จิ๋ว)

ส่วนที่ใช้               เหง้าสด

ขนาด                     2 – 3 เหง้า

วิธีใช้                      ใช้เหง้าตำให้ละเอียดเติมน้ำมันพืช ทาบริเวณที่เป็น


พลูคาว

ชื่ออื่นๆ                 ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน), ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง (เหนือ), ผักคาวทอง, พลูแก (กลาง)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     5 – 8 ใบ

วิธีใช้                      ใช้ใบขยี้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังวันละ 2 – 3 ครั้ง หลายๆ วันจนกว่าโรคผิวหนังจะหาย


น้ำนมราชสีห์ใหญ่

ชื่ออื่นๆ                 นมราชสีห์, ผักโขมแดง (กลาง), หญ้าน้ำหมึก (เหนือ), หญ้าหลังอึ่ง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ต้นสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      หั่นดองในเหล้าโรง 4 – 5 วัน นำน้ำที่แช่ทายริเวณที่เป็ฯบ่อยๆ จนกว่าจะหาย


ใบละบาท

ชื่ออื่นๆ                 ใบระบาด, ผักระบาด (กลาง), เมืองมอน

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     2 – 3 ใบ

วิธีใช้                      นำใบมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2 – 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 4 วัน จะเห็นผล


เจตมูลเพลิงขาว

ชื่ออื่นๆ                 ตอชูวา, ตั้งชู้อ้วย (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ปิดปิวขาว (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ราก

ขนาด                     1 – 2 ราก

วิธีใช้                      นำรากมาป่นให้ละเอียด ผสมน้ำมันพืชเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง         เมื่อทาเจตมูลเพลิงขาวแล้วให้สังเกตุว่าโรคผิวหนังอาการดีขึ้นหรือไม่ ถ้ามีอาการพุพองมากขึ้น ให้รีบหยุดยา เพราะยาตัวนี้ถ้าใช้มากจะทำให้เป็นแผลพุพองได้


กรวยป่า

ชื่ออื่นๆ                 ก้วย (เหนือ), ขุนเหยิง, บุนเหยิง (สกลนคร), คอแลบ (นครราชสีมา), ตวย (เพชรบูรณ์), ตวยใหญ่, ตานเสี้ยน (พิษณุโลก), ผ่าสาม (นครพนม)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     10 – 15 ใบ

วิธีใช้                      นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช ใช้ทาบริเวณที่เป็ฯโรคผิวหนัง


เลี่ยน

ชื่ออื่นๆ                 เฮี่ยน, เคี่ยน, เกรียน (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ดอกและผลสด

ขนาด                     ดอก 1 ช่อเล็กๆ, ผล 5 – 7 ผล

วิธีใช้                      เอาดอกหรือผลตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังวันละ 2 – 3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย


สะเดาอินเดีย

ชื่ออื่นๆ                 ควินิน (ทั่วไป), สะเดา (กลาง), เดา (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               เมล็ดที่โตเต็มที่

ขนาด                     2 กำมือ

วิธีใช้                      เอาเมล็ดสะเดามาตำหรือบีบ จะได้น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย


ขมิ้นชัน

ชื่ออื่นๆ                 ขมิ้น (ทั่วไป), ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่), ขี้มิ้น, หมิ้น (มลายู),

ตายอ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร), สะยอ (กะเหรี่ยง – แม่อ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               เหง้าแห้ง

ขนาด                     ไม่จำกัด

วิธีใช้                      เหง้าขมิ้นมาทำให้แห้ง ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉาะในเด็กจะนิยมใช้มันมาก


สำมะงา

ชื่ออื่นๆ                 เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์), สัมเนรา (ระยอง), สักขรีย่าน (ชุมพร), สัมปันงา, สำมะสีงา, สำมะดีงา, สำปะงา, สำลีงา (กลาง, ตะวันออก), เช่าอึ้งเต็ง (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งกิ่งและใบสด

ขนาด                     3 – 4 กำมือ

วิธีใช้                      สับเป็นท่อนๆ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3 – 4 ครั้ง


เหงือปลาหมอ

ชื่ออื่นๆ                 แก้มหอม (กระบี่), จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง (กลาง)

ส่วนที่ใช้               ใบ และต้นสด

ขนาด                     3 – 4 กำมือ

วิธีใช้                      นำต้นสดมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3 – 4 ครั้ง


ขันทองพยาบาท

ชื่ออื่นๆ                 กระดูก, ยายปลวก (ใต้), ขนุนแดง (เพชรบูรณ์), ขอบนางนั่ง (ตรัง), ขัณฑสกร, ช้องรำพัน, สลอดน้ำ (จันทบุรี), ขันทอง (พิจิตร), มะดูก, หมากดูก (กลาง), ข้าวตาก (กาญจนบุรี), ขุนทอง, คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์), โจ่ง, เจิ่ง (ส่วน – สุรินทร์), ดูกไทร, ดูกไส, ดูกไม้, เหมือดโรค (เลย), ดูกหิน (สระบุรี), ดูกไหล (นครราชสีมา), ทุเรียนป่า, ไฟ, ป่าช้าหมอง, ยางปลอก, ฮ่อสะพานควาย (แพร่), มะดูกดง (ปราจีนบุรี), มะดูกเลื่อม (เหนือ), เหล่บ่อ (กะเหรี่ยง – แพร่)

ส่วนที่ใช้               เนื้อไม้

ขนาด                     1 ท่อน

วิธีใช้                      สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำอาบแก้คัน ใช้ติดต่อกันหลายๆ วัน


ยาสูบ

ชื่ออื่นๆ                 จะวั้ว (เขมร – สุรินทร์), ยาฉุน, ยาเส้น

ส่วนที่ใช้               ใบยาที่แก่และแห้ง (ยาสุล, ยาฉุนหรือยาตั้ง)

ขนาด                     1 ขยุ้มมือ

วิธีใช้                      นำมาตำให้เป็นผง ผสมกับผงขมิ้นชันแห้งเท่าๆ กัน เติมน้ำมันมะพร้าว เคี่ยวไฟอ่อนๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นผื่นคันเหมาะกับคนที่แพ้ยุง หรือริ้น


ข้อควรระวัง          สำหรับโรคผิวหนัง หิด เหา กลากเกลื้อน เหล่านี้ ข้อที่ควรระทักระวังคือ ความสะอาด จะต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องนอน ที่พักอาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าสิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้สกปรก เมื่อรักษาโรคผิวหนังนี้หายแล้ว ก็อาจจะกลับเป็นได้อีก การติดต่อ อย่าใช้ของร่วมกับบุคคลอื่นๆ และอย่าพยายามใกล้ หรือเสียดสีกับบุคคลที่เป็นโรคเหล่านี้

 

 

 

 

 

Scroll to top