สมุนไพรพอกฝี

เทียนบ้าน

ชื่ออื่นๆ                 เทียนดอก, เทียนไทย, เทียนสวน, เทียนขาว (ไทย), จึงกะฮวย, ใจกะฮวย, ห่งเซียง, เซียวถ่ออั้ง, โจ๋ยกะเช่า (จีน)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     5 – 10 ใบ

วิธีใช้                      ล้างใบให้สะอาด ตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกที่เป้นแผล


โลดทะนง

ชื่ออื่นๆ                 ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), ดู่เบี้ย, ดู่เตี้ย (เพชรบุรี), ทะนง, รักทะนง (นครราชสีมา), ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์), นางแซง (อุบลราชธานี), โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์), หนาดดำ (เหนือ), หัวยาข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี)

ส่วนที่ใช้               ราก

ขนาด                     รากยาว 1 นิ้ว

วิธีใช้                      เอารากฝนกับเหล้าให้ได้น้ำยาข้นๆ ใช้เกลื่อนฝีที่ยังไม่มีหนอง ทา 3 – 4 ครั้ง

ฝีจะยุบ


ผักเสี้ยน

ชื่ออื่นๆ                 ผักส้มเสี้ยน (เหนือ), ผักเสี้ยนขาว (กลาง), ผักเสี้ยนไทย, ผักเสี้ยนตัวผู้, ผักเสี้ยนดอง

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      นำใบสดมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้พอกฝีกันมิให้เป็นหนอง


โคกกะออม

ชื่ออื่นๆ                 โพออม (ปัตตานี), ลูบลีบเครือ (เหนือ), วิวี่, วิหวี่ (ปราจีนบุรี)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     10 – 15 ใบ

วิธีใช้                      เอาใบมาตำให้ละเอียด ใช้พอกฝี เปลี่ยนยาทุกวัน


ตะขาบบิน

ชื่ออื่นๆ                 ตะขาบปีนกล้วย, ตะขาบหิน (กลาง), เพอ, เพ่อ (กรุงเทพฯ) ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), ว่านตะเข็ย (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     1 กิ่ง

วิธีใช้                      ตำใบให้ละเอียดพอกฝี เปลี่ยนทุกๆ วัน ฝีจะยุบ


แป๊ะตำปึง

ชื่ออื่นๆ                 ประดำดีควาย, มะคำดีควาย (ปัตตานี), มุแมงสัง (ชุมพร), จักรนารายณ์

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     5 – 7 ใบ

วิธีใช้                      ล้างใบให้สะอาด นำมาตำให้ละเอียด ผสมกับสุราใช้พอกฝีเปลี่ยนวันละ 1 ครั้ง จะช่วยถอนพิษและทำให้ฝียุบ


ต้อยติ่ง

ชื่ออื่นๆ                 ผักดีด, ผักนุงนัง, อังกาบฝรั่ง หญ้าดีดไฟ, ปิงปัง

ส่วนที่ใช้               เมล็ดของผลที่แก่ ซึ่งมีสีน้ำตาลแดง มีขนาดเล็กค่อนข้างกลม

ขนาด                     1 หยิบมือ

วิธีใช้                      นำเมล็ดต้อยติ่ง 1 หยิบมือ วางบนฝ่ามือ หยดนำลงไปพอแฉะๆ เมล็ดต้อยติ่งจะพองออก เช่นเดียวกับเมื่อแชาเมล็ดแมงลัก จะจับกันเหนียว แผ่ออกให้ใหญ่ตามขนาดของฝีแล้วปะลงตรงฝี จะช่วยดูดหนองออก บางคนจะเจาะตรงกลางเป็นช่องเล็กๆ เพื่อเวลาที่หนองไหลออกจะได้ไหลออกทางนั้น เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง


ต้อยติ่งนา

ชื่ออื่นๆ                 ต้อยติ่งไทย, ต้อยติ่ง (กรุงเทพฯ), น้ำดับไฟ (ประจวบคีรีขันธ์)

ส่วนที่ใช้               เมล็ด

ขนาด                     1 หยิบมือ

วิธีใช้                      นำเมล็ดต้อยติ่ง 1 หยิบมือ วางบนฝ่ามือ หยดนำลงไปพอแฉะๆ เมล็ดต้อยติ่งจะพองออก เช่นเดียวกับเมื่อแชาเมล็ดแมงลัก จะจับกันเหนียว แผ่ออกให้ใหญ่ตามขนาดของฝีแล้วปะลงตรงฝี จะช่วยดูดหนองออก บางคนจะเจาะตรงกลางเป็นช่องเล็กๆ เพื่อเวลาที่หนองไหลออกจะได้ไหลออกทางนั้น เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง


คว่ำตายหงายเป็น

ชื่ออื่นๆ                 กระสำเพาะ, ต้นตายใบเป็น, นิรพัตร, เบญจฉัตร (กลาง), กะเร (ชลบุรี – ใต้), ฆ้องสามย่านผู้, นิลาปัต, เพลาะแพละ, ว่านไฟ (ไทย), คามักเช้า, โล่ตี้แช (จีน)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     5 -6 ใบ

ส่วนที่ใช้               นำใบไปล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็นฝี แก้ปวด แก้อักเสบ เปลี่ยนยาวันละ 1 ครั้ง


ส้มกบ

ชื่ออื่นๆ                 ผักแว่น (กลาง), สังส้ม (แพร่), ส้มดิน, หญ้าตานทราง (แม่ฮ่องสอน), ส้มสังกำ, ส้มสามตา (เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้               ต้นสด

ขนาด                     5 – 6 ต้น

วิธีใช้                      ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น

Scroll to top