กระชายดำ

กระชายดำ

ชื่อสมุนไพร : กระชายดำ
ชื่ออื่น ๆ
: ขิงทราย(มหาสารคาม), ว่านกั้นบัง, ว่านกำบัง, ว่านกำบังภัย, ว่านพญานกยูง, ว่านจังงัง, กะแอน, ระแอน(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia parviflora Wall. ex Baker
ชื่อวงศ์ : ZINGLBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระชายดำ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ
    กระชายดำ กระชายดำ
  • ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแทงออกจากใต้ดิน รูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น หลังใบเรียบ ท้องใบเรียบสีม่วงแดง ก้านใบยาวสีม่วงแดง
    กระชายดำ
  • ดอกกระชายดำ ออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน

สรรพคุณ กระชายดำ :

  • เหง้าใต้ดิน ใช้บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย) แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง  หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก หรือต้มดื่มแก้โรคตา และแก้ป่วงทุกชนิด

ข้อมูลเพิ่มเติม:

  • รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา : เป็นยาแก้ปวดท้อง และยาอายุวัฒนะ ตามภูมิปัญญาไทย การใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง และยาอายุวัฒนะ ตามภูมิปัญญาไทย ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี หรือฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำดื่ม หรือดองน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1
    ใช้เหง้าแห้งดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน และนำมาดื่มก่อนนอน
  • ข้อควรระวัง การรับประทานติดต่อกันนาน อาจทำให้เหงือกร่น และห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ และในเด็ก การรับประทานในขนาดสูง ทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
Scroll to top