รากสามสิบ

รากสามสิบ

ชื่อสมุนไพร : รากสามสิบ
ชื่ออื่นๆ
: ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว,ศตาวรี, สามร้อยราก(กาญจนบุรี), ผักหนาม(นครราชสีมา), ผักชีช้าง(หนองคาย), จ๋วงเครือ(ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, จั่นดิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asparagus racemosus Willd.
ชื่อวงศ์ : Asparagaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นรากสามสิบ จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย ลำต้น มีหนามแหลม มักเลื้อยพันตันไม้อื่น เลื้อยยาว 1.5-4 เมตร เถากลมเรียบ เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม เหง้าและรากใต้ดินออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวยออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย อวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว โตกว่าเถามาก ลำต้นมีหนาม เถาเล็กเรียว กลม สีเขียว
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว แข็ง ออกรอบข้อ เป็นฝอยเล็กๆคล้ายหางกระรอก สีเขียวดก หรือเป็นกระจุก 3-4 ใบ เรียงแบบสลับ ใบรูปเข็ม กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมักโค้ง สันเป็นสามเหลี่ยม มี 3 สัน ปลายใบแหลม เป็นรูปเคียว โคนใบแหลม มีหนามที่ซอกกระจุกใบ ก้านใบยาว 13-20 ซม.
  • ดอกรากสามสิบ ช่อดอก ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ แบบช่อกระจะ ยาว 2-4 เซนติเมตร ดอกย่อย สีขาว ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม มี 12-17 ดอก ก้านดอกย่อย ยาวประมาณ มิลลิเมตร กลีบรวม มี กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอดรูปดอกเข็ม ปลายแยกเป็นแฉก ส่วนหลอดยาว 2-3 มิลลิเมตร ส่วนแฉกรูปช้อน ยาว 3-4 มิลลิเมตร กลีบดอกบางและย่น เกสรเพศผู้ เชื่อมและอยู่ตรงข้ามกลีบรวม ขนาดเล็กมี อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว อับเรณูสีน้ำตาลเข้ม รังไข่รูปไข่กลับ ยาวประมาณ มิลลิเมตร อยู่เหนือวงกลีบ มี ช่อง แต่ละช่องมีออวุล เมล็ด หรือมากกว่า ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นสามแฉกขนาดเล็ก
  • ผลรากสามสิบ ผลสด ค่อนข้างกลม หรือเป็น 3 พู ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 มิลลิเมตร รากสามสิบผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดงหรือม่วงแดง เมล็ด มีสีดำ มี 2-6 เมล็ด ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พบตามป่าโปร่ง หรือเขาหินปูน

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก ต้น

สรรพคุณ รากสามสิบ :

  • ราก รสเย็น หวานชุ่ม ใช้แก้กระษัย แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและกระตุ้น ขับเสมหะ บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอด แก้ตับปอดพิการ บำรุงกำลัง แก้กระษัย
  • ทั้งต้น หรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก ราก มีรสเฝื่อนเย็น กินเป็นยาแก้พิษร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อย ครั่นตัว ฝนทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี ทำให้เย็น ถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน ช่วยบำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับ ปอด บำรุงกำลัง ผสมกับเหง้าขิงป่า และต้นจันทน์แดงผสมเหล้าโรงใช้เป็นยาแก้วิงเวียน ต้มน้ำดื่ม
Scroll to top