เบญกานี

เบญกานี

ชื่อสมุนไพร : เบญกานี
ชื่ออื่นๆ :
เบญจกานี, หมดเจียะจี้ (จีนแต้จิ๋ว), หม้อสือจื่อ (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ : aleppo galls, downy oak, nutgall, gallnut, oak white gall
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quercus infectoria G.Olivier
ชื่อวงศ์ :  FAGACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • เบญกานี เกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด (Cynips tinctoria) โดยแมลงชนิดนี้จะเข้าไปวางไข่บน “ต้นเบญกานีโอ๊ก” Quercus infectoria Olivier เมื่อแมลงโตเต็มที่แล้วก็จะบินออกจากรังไปและทิ้งรังไว้ ซึ่งรังนี้เองที่ถูกนำมาทำเป็นยา โดยเรียกว่า “เบญกานี” โดยรังดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็งค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ผิวขรุขระมันเงา มีรูพรุน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2.5 เซนติเมตร บางครั้งพบซากของตัวอ่อนอยู่ภายใน โดยต้นไม้ชนิดนี้ส่วนมากแล้วจะพบขึ้นบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากประเทศกรีซ ซีเรีย ถึงเปอร์เซีย จากนั้นเมื่อไข่อ่อนของแมลงเจริญเป็นตัวอ่อน และเป็นตัวแก่ในที่สุด ก็จะเจาะออกจากปูดไป ในช่วงที่แมลงเจริญเติบโตนั้น พืชจะสร้างสารฝาด(tannins) สะสมไว้มาก สารฝาดนี้มีองค์ประกอบเคมีเป็นกรดแทนนิก(tannic acid) ร้อยละ 50-70
  • ลูกเบญกานี นี้มีลักษณะเป็นก้อนเกือบกลม ผิวตะปุ่มตะป่ำ อาจมีหลายสี บางทีเป็นสีหม่น บางทีสีเขียวขี้ม้าถึงเกือบดำ บางตำราเรียก “ลูกเบญกานี” ฝรั่งเรียก “Nutgall” หรือ “Aleppo gall”
  • ปูดเบญกานี เกิดจากแมลงไปวางไข่ในต้นโอ๊ก ต้นไม้ก็จะขับสารสร้างยางเหนียวๆมาหุ้มไข่ตัวแมลง กระทั่งมีลักษณะก้อนกลมๆ ก้อนนี้แหละเรียกกันว่า “ปูดเบญกานี”

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลหรือรังแห้ง

สรรพคุณ เบญกานี :

  • ผล  รสฝาด ช่วยในการสมานบาดแผลได้ดี แก้บิดปวดเบ่ง ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง แก้ปวดมดลูก

ในประกาศกระทรวงสาธารณะสุข “เรื่องยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ.2556″ ได้ประกาศให้ยาแผนโบราณตามตำรับยาทาแก้ลิ้นเป็นฝ้า ต้องมีลูกเบญกานีเป็นตัวยาตรงด้วย

Scroll to top