สาเก

สาเก

ชื่อสมุนไพร : สาเก
ชื่ออื่น :
ขนุนสำปะลอ (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Bread Fruit Tree, Bread nut Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg
ชื่อวงศ์ : Moraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสาเก ต้นไม้ยืนต้นนสูง 15-20 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านทรงพุ่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม
    ต้นสาเก
  • ใบสาเก ใบเดี่ยว ออกสลับ มีขนาดใหญ่ กว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ใบเว้าเป็นแฉกสาเกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ก้านใบและเส้นใบมีสีเหลืองเห็นชัดเจน แผ่นใบสีเขียวเข้ม หนา ยอดอ่อนมีกาบสีเหลืองอมเขียวหุ้ม

 

 

  • ดอกสาเก เป็นดอกช่อ แยกเป็นช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อยาวประมาณ 20-30 สาเกเซนติเมตร รูปทรงคล้ายกระบอง ห้อยลง ส่วนช่อดอกตัวเมียเป็นรูปทรงกลม ออกดอกตลอดปี

 

 

 

  • ผลสาเก เป็นผลรวม มีรูปทรงรูปไข่หรือเกือบกลม ขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร ภายในมีเนื้อไม่มีสาเกเมล็ด สีเขียวอมเหลือง สายพันธุ์หนึ่งมีแต่เมล็ด เรียกว่าขนุนสำปะลอ

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, เปลือกต้น, ราก, ยาง

สรรพคุณ สาเก :

  • ผล รสหอมหวาน เนื้อสาเก อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานสูง นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินบี มีสรรพคุณป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ความจำเสื่อม และโรคกระดูกผุในผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน สาเกได้นำมาผลิตแปรรูป นำสารสกัดมาเป็นส่วนผสมของครีมบำรุงผิว เครื่องสำอางค์ ส่วนของดอกใช้ทำเป็นยาไล่ยุง
  • เปลือกต้น ส่วนของเปลือกต้น ใช้เป็นยาปรับประสาททำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้กระชุ่มกระชวย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยใช่ส่วนเปลือกต้นอย่างเดียว นำมาย่างไฟจนแห้งแล้วต้มกินแต่น้ำ
  • ราก รสเบื่อเมา ในตำรายาโบราณใช้ ราก ยารักษา กามโรค ซึ่งคนในยุคสมัยก่อนเป็นกันแพร่หลายทั้งชายและหญิง ได้ชะงัดนัก โดยฝนผสมกับน้ำดื่มวันละครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 แก้วตะไล จะค่อยๆทุเลาและหายได้ในที่สุด
  • ยาง ยางสาเกมีลักษณะสีขาวข้น มีในทุกส่วนของต้น นิยมนำมาใช้เป็นยาชันเรือ และยังใช้ในการรักษา หิด กลาก เกลื้อน ได้ด้วย

ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่เป็นโรคหนองใน ซิฟิลิส ห้ามรับประทานผลสาเกที่เกือบสุก หรือ สุก แล้วโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้เชื้อขยายตัว และจะขยายแผลให้ลุกลามมากยิ่งขึ้น

Scroll to top