รางแดง

รางแดง

ชื่อสมุนไพร : รางแดง
ชื่ออื่นๆ :
ก้องแกบ, เครือเขาแกลบ, เห่าดำ, ฮองหนัง, ฮ่องหนัง (เลย), ปลอกแกลบ (บุรีรัมย์), เถามวกเหล็ก, เถาวัลย์เหล็ก, (สระบุรี), กะเลียงแดง (ชลบุรี-ศรีราชา), แสงอาทิตย์, แสงพระอาทิตย์, รางแดง (ประจวบคีรีขันธ์), เถาวัลย์เหล็ก, เถามวกเหล็ก, กะเลียงแดง, รางแดงทรงแดง (ภาคใต้), ก้องแกบ, ก้องแกบเครือ, ก้องแกบแดง, เครือก้องแกบ, หนามหัน (ภาคเหนือ), ซอแพะแหล่โม (กะเหรี่ยง), ตะแซทูเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ventilago denticulata Willd.
ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นรางแดง จัดเป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่ม มักเลื้อยตามต้นไม้และกิ่งไม้ เถาเป็นสีเทา ผิวของลำต้นหรือเถาเป็นรอยแตกระแหงเป็นร่องสีแดงสลับ ทำให้เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม (ลำต้นเมื่อยังอ่อนจะเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อแก่แล้วจะแตกเป็นสีแดง) ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ
    รางแดง รางแดง
  • ใบรางแดง ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบเป็นสีเขียว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ส่วนก้านใบสั้น
    รางแดง
  • ดอกรางแดง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเขียวแกมเหลืองหรือสีเขียวอมขาว
  • ผลรางแดง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลมีรูปร่างกลม ด้านปลายผลแผ่เป็นครีบคล้ายปีกแข็ง ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ใบ

สรรพคุณ รางแดง :

  • เถา นำไปหั่นตากแดดให้แห้ง ใช้ปรุงเป็นยาแก้กระษัย คลายเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย
  • ใบ ปิ้งไฟให้กรอบ หรือตากแดดให้แห้ง นำไปชงหรือต้มกับน้ำกินแทนน้ำชา ช่วยลดไขมัน ลดความอ้วน ขับปัสสาวะ แก้เส้นเอ็นตึง

[su_quote]หมอยาไทยใหญ่ ใช้ใบรางแดงนำมาปิ้งกับไฟชงกับน้ำร้อนกินแทนชา เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลังปวดเอว แก้อาการอ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาล้างไต ด้วยการใช้ใบชงใส่น้ำร้อน หรือจะใช้รากหรือเถานำมาหั่นตากแห้ง แล้วต้มกินก็ได้ และยังเชื่อว่าหากกินสมุนไพรรางแดงเป็นประจำจะช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร[/su_quote]

Scroll to top