ระกำ

ระกำ

ชื่อสมุนไพร : ระกำ
ชื่ออื่น ๆ
: สะละ, สะลัก (มลายู), สละ(ไทย), ซาเลา(มลายู-นรา), ระกำกอก, กำ(ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacca wallichiana Mart.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นระกำ เป็นพรรณไม้ปาล์มชนิดหนึ่ง ที่แตกหน่อออกมาเป็นกอ มีลำต้นอยู่ใต้ดิน นอกจากต้นทีแก่ ๆ เท่านั้นจะมีลำต้นสูงขึ้นมาเหนือผิวดิน และโดยทั่วไปแล้วจะสูงไม่เกิน 2 เมตรตามลำต้น และกิ่งก้านจะเต็มไปด้วยหนามยาว และแข็งปกคลุม รากมีระบบเป็นรากฝอยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร แทงออกจากบริเวณเหง้าจำนวนมาก และมีความยาวหลายเมตร
  • ใบระกำ จะแตกใบออกเป็นกอใหญ่ เป็นสีเขียวแก่ ทางใบนั้นจะยาวมีลักษณะคล้ายกับใบขนนก ก้านใบจะมีแต่หนาม ใบนั้นจะออกเป็นช่อ ๆ ใบย่อยจะเรียกกันตามก้านช่อ ซึ่งใบย่อยนี้จะมีความยาวประมาณ 2 ฟุต และกว้างประมาณ 2 นิ้ว มีใบดกมาก
    ระกำ
  • ดอกระกำ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือเพศผู้กับเพศเมีย จะไม่อยู่ในดอกเดียวกัน แตกดอกตรงระหว่างโคนก้านใบ
  • ผลระกำ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ปกคลุมด้วยเปลือกแข็งหยาบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ แต่บาง มีเกล็ดเล็กๆเรียงซ้อนกันปกคลุมทั่วผล เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีส้มหรือสีแดง ด้านในประกอบด้วยเนื้อผลอ่อนนุ่ม เป็นกลีบหุ้มผล 1-3 กลีบ เนื้อที่ดิบมีรสฝาด และเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อนุ่ม บาง ฉ่ำน้ำ และมีกลิ่นหอม มีเมล็ดด้านในประมาณ 1-3 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างใหญ่
    ระกำ
  • เปลือกผลระกำ จะเป็นเกล็ด ผลทีอ่อนจะมีสีน้ำตาล พอผลแก่หรือสุกก็จะเป็นสีแดงสด ใช้กินได้ ผลจะมีรสเปรี้ยวบ้าง หวานบ้างแล้วแต่พรรณนั้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล และแก่น ใช้เป็นยา

สรรพคุณ ระกำ :

  • ผล ใช้กินเป็นยารักษาอาการไอ และขับเสมหะ เป็นยาระบายทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รสเปรี้ยวช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตาสว่าง
  • แก่น จะมีรสขมหวาน ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาเลือด รักษากำเดา และรักษาอาการไข้สำประชวร
Scroll to top