มะเดื่อ

มะเดื่อ

ชื่อสมุนไพร : มะเดื่อ
ชื่ออื่นๆ
: มะเดื่อไทย, มะเดื่ออุทุมพร, เดื่อเกลี้ยง(ภาคเหนือ), มะเดื่อเกลี้ยง, มะเดื่อ, มะเดื่อชุมพร, กูแซ, เดื่อน้ำ(ภาคใต้), มะเดื่อน้ำ, เดื่อเลี้ยง, มะเดื่อหอม, หมากเดื่อ(ภาคอีสาน), มะเดื่อดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa  L.
ชื่อวงศ์ : Moraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะเดื่อไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 5-30 เมตร มีพูพอน เปลือกต้นสีน้ำตาลอมสีชมพู เรียบ เมื่อแตกเป็นรอยหยาบ มียางสีขาวนวล หูใบยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร มักติดแน่นในกิ่งอ่อน
    มะเดื่อไทย
  • ใบมะเดื่อไทย เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีถึงรูปไข่กลับ รูปขอบขนานสั้น หรือรูปใบหอก กว้าง 3.5-8.5 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบถึงโค้งกว้าง หรือรูปหัวใจ ขอบเรียบ เนื้อหนา เส้นใบมีข้างละ 4-8 เส้น ก้านใบยาว 1.5-7 เซนติเมตร สีน้ำตาล
  • ดอกมะเดื่อไทย ช่อดอก เกิดตามต้นและกิ่งใหญ่ๆ ที่ไม่มีใบ ช่อดอกยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยรูปค่อนข้างกลมถึงรูปคนโท ช่อดอกย่อยแบบนี้เกิดจากฐานดอกพองออก ภายในกลวง ปลายโค้งเข้าหากันจนเกือบจรดกัน มีใบประดับ 5-6 ใบปิดอยู่ มีดอก 3 ประเภท ได้แก่ 1) ดอกเพศผู้มีกลีบรวมเป็นพู 3-4 พู สีแดง เกลี้ยง รังไข่ฝ่อ ไม่มีก้าน 2) ดอกเพศเมียเหมือนดอกเพศผู้ อยู่ระหว่างดอกปุ่มหูด รังไข่ไม่มีก้านหรือมีก้านสั้น มีจุดสีแดง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน 3)ดอกปุ่มหูดหรือดอกเพศเมีย แต่มีก้านชูยอดเกสรเพศเมียสั้นมาก รังไข่สีแดงคล้ำ เกลี้ยง
  • ผลมะเดื่อไทย รูปค่อนข้างกลมถึงรูปคนโท กว้าง 3.5-5 เซนติเมตร เมื่ออ่อนสีเขียว แก่สีแดงอมสีส้ม ผิวมักมีช่องอากาศแกมตุ่ม เมล็ด รูปเลนส์ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เรียบหรือมีสันเล็กน้อย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลอ่อน, เปลือกต้น, ราก

สรรพคุณ มะเดื่อ :

  • ผลอ่อน รับประทานเป็นอาหาร
  • เปลือกต้น มีรสฝาด รับประทานแก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
  • ราก เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด กล่อมเสมหะ และโลหิต
Scroll to top