จุกโรหินี

จุกโรหินี

ชื่อสมุนไพร : จุกโรหินี
ชื่ออื่นๆ :
กล้วยไม้ (เหนือ), บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี), เถาพุงปลา (ภาคตะวันออก ระยอง), พุงปลาช่อน (กลาง), นมตำไร(เขมร), บวบลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dischidia major (Vahl) Merr.
ชื่อวงศ์ : Asclepiadaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นจุกโรหินี เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น มีรากตามลำต้นส่วนต่างๆ ของเถามีนํ้ายางสีขาวเหมือนน้ำนม
    จุกโรหินี
  • ใบจุกโรหินี ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบหนาอวบน้ำ รูปค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 -2 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เนื่องจากถูกมดเจาะ เข้าอาศัยทำให้มีลักษณะโป่งเป็นถุง ยาว 5-10 ซม. กว้าง 3-5 ซม.
    ก้านใบสั้น
  • ดอกจุกโรหินี ดอกเล็กรูปโคม สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นกระจุกหรือเป็น ช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ
  • ผลจุกโรหินี เป็นฝัก เรียวยาว 5-7.5 ซม. กว้าง 3-5 มม. เมล็ด เล็ก แบน มีขนเป็นพุ่มที่ปลาย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ราก

สรรพคุณ จุกโรหินี :

  • ทั้งต้น รสฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ใบ รสฝาดสุขม ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้บิด แก้อาเจียน แก้ปวดเบ่ง มูกเลือด เสมหะผิดปกติ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
  • ราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด แก้ปวดเบ่ง แก้เสมหะพิการ สมานแผล แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ รากนำมาเคี้ยวกับพลู เป็นยาแก้ไอ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล

ยาพื้นบ้าน:
ใช้ ทั้งต้น รสฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ใบ รสฝาดสุขม ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้บิด แก้อาเจียน แก้ปวดเบ่ง มูกเลือด เสมหะผิดปกติ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
ราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด แก้ปวดเบ่ง แก้เสมหะพิการ สมานแผล แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
รากนำมาเคี้ยวกับพลู เป็นยาแก้ไอ

Scroll to top