ก้างปลา

ก้างปลา

ชื่อสมุนไพร : ก้างปลา
ชื่ออื่นๆ :
ก้างปลา, ก้างปลาขาว, ก้างปลาแดง, ปู่เจ้าคาคลอง, ปู่เจ้าขวางคลอง, คาคลอง ,ขวางคลอง, ข่าคลอง (สุพรรณฯ), คำอ้าย(โคราช) ,ก้างปลาเครือ ,หมัดคำ(แพร่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus reticulatus Poir.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นก้างปลา เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 7 ฟุต ลำต้นและกิ่งก้าน สีแดงถึงน้ำตาล นิยมใช้ ก้างปลาแดงทำยา ขึ้นตามที่ลุ่มรกร้างทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือกิ่งชำ
    ก้างปลา

  • ใบก้างปลา ใบเดี่ยว รูปไข่หรือรี หัวท้ายมน ออกเรียงสลับกัน ขอบเรียบ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ก้านใบยาว 2-3 มิลลิเมตร ก้างปลาขาวใบบาง ลำต้นขาวนวล ก้างปลาแดงใบหนา  ในใบมี tannin


  • ดอกก้างปลา ดอกเล็กๆ ทรงกลมช่อละ 1-3 ดอก ออกตามง่ามใบ แยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน มีกลับรองดอก 4-9 อัน สีเขียวอมแดง ไม่มีกลีบดอก

  • ผลก้างปลา ผลนุ่ม โตกว่าเมล็ดพริกไทยเล็กน้อย ก้างปลาขาว ผลสีขาว ก้างปลาแดง ผลสีแดง สุกสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ต้น, เปลือก, ผล, ราก

สรรพคุณ ก้างปลา :

  • ใบ รสฝาดเฝื่อน ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ บดเป็นผงโรยสมานแผล
  • ต้น ,เปลือก รสฝาดเฝื่อน ต้มหรือชงน้ำร้องดื่ม แก้น้ำเหลืองเสียขับปัสสาวะ ฟอกโลหิต แก้บิด ท้องเสีย
  • ผล รสฝาดเฝื่อน สมานในระบบทางเดินอาหาร แก้อาการอักเสบต่างๆ
  • ราก รสฝาดเย็น ต้มดื่ม แก้หอบหืด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ขับพิษ ไข้หัว แก้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด ฝนทาแก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา
Scroll to top