เทียนเกล็ดหอย

เทียนเกล็ดหอย

ชื่อสมุนไพร : เทียนเกล็ดหอย
ชื่ออื่นๆ
: ไซเลียม ฮักส์
ชื่อสามัญ : Psyllium Seed, Blonde Psyllium Seed, Ispaghula Seed, Psyllium Husk, Psyllium Seed Husk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plantago ovate Forssk., Plantago psyllium Linn.
ชื่อวงศ์ : PLANTAGINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเทียนเกล็ดหอย ลำต้นมีลักษณะลำต้นกลมตั้งตรง ปล้องยาว มีขนสีขาวปลกคลุมทั่วทั้งลำต้น
  • ใบเทียนเกล็ดหอย มีลักษณะใบเดี่ยวออกตามปล้อง ใบแคบเรียวยาว ขอบใบหนา ปลายใบแหลมโค้งเล็กน้อย มีร่องตื้น ๆ ตรงกลาง ระหว่างซ้ายขวา ผิวใบหยาบมีขนสีขาวปลกคลุมทั่วทั้งใบ ใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกเทียนเกล็ดหอย ดอกอยู่บริเวณซอกด้านบนของใบ ทรงกระบอกมีกลีบเรียงเป็นฐานรองช่อดอกอีก 1 ชั้น ก้านดอกยาวเฉียงขึ้น 45 องศาเหนือตาใบที่หันออกด้านนอกลำต้น
  • เมล็ดเทียนเกล็ดหอย ผลเทียนเกล็ดหอย ผลเป็นกระเปาะแตกได้ เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน แบนคล้ายเรือ ลักษณะด้านนอกนูนด้านในเว้า ผิวมันลื่นเรียบไม่มีขน เมล็ดเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมชมพู มีขนาดกว้างประมาณ 1.1-1.7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.2-3.1 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกเมื่อถูกความชื้น ผงจากเมล็ดจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลอมชมพู มีรสร้อน ขม และหอม เมื่อถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือกเหมือนเมล็ดแมงลัก ลักษณะเมื่อเป็นผง มีสีน้ำตาลปนชมพูอ่อน ๆ มีกลิ่นอ่อนๆ ไม่มีรสเป็นเมือกเมล็ดแป้งหายากมากรูปร่างค่อนข้างกลมมีทั้งเดี่ยวและหมู่เส้นผ่าศูนย์กลางเมล็ดเฉลี่ย 8 ไมครอน

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  เมล็ด

สรรพคุณ เทียนเกล็ดหอย :

  • เมล็ด ใช้แก้ลมวิงเวียน แก้หน้ามืดตาลาย แก้โลหิตจาง บำรุงโลหิต แก้เลือดเดินไม่สะดวกที่ทำให้ปลายมือปลายเท้าเย็น แก้ลมขึ้นเบื้องสูง แก้บิดเรื้อรัง บำรุงกำลังและเส้นเอ็น แก้คลื่นเหียน ขับเสมหะ บำรุงเลือด เป็นยาระบายชนิดเพิ่มกากอาหาร ลดระดับน้ำตาล กระตุ้นการหลั่งอิสซูลิน ลดระดับคอเลสเตอรอล
    เทียนเกล็ดหอย

[su_spoiler title=”แหล่งข้อมูลอ้างอิง :” style=”fancy” icon=”folder-2″]ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.หน้า 155 – 156[/su_spoiler]

Scroll to top