ส้มโอ

ส้มโอ

ชื่ออื่น ๆ : ส้มโอ
ชื่ออื่น ๆ
 : มะขุน, มะโอ (ภาคเหนือ), โกร้ยตะลอง (เขมร), ลีมาบาลี (มลายู-ยะลา), อิ่ว (จีน), สังอู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Pummelo, Shaddock
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima Merr.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นส้มโอ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นมีสีน้ำตาล และมีหนามเล็ก ๆ อยู่ สูงประมาณ 8 เมตร
  • ใบส้มโอ เป็นไม้ใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปมนรี ปลายใบและโคนใบมนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบเป็นสีเขียวและมัน แต่ตรงก้านใบจะมีส่วนที่แผ่ออกเป็นปีกรูปคล้ายหัวใจ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-4 นิ้วยาว 4-6 นิ้ว
  • ดอกส้มโอ ออกเป็นช่อและดอกเดี่ยว แต่ส่วนมากมักจะเป็นดอกเดี่ยวอยู่ตามง่ามใบ ดอกมีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมีเกสร 20-25 อัน
  • ผลส้มโอ เป็นลูกกลม ๆ โตและตรงหัวของผลจะนูนขึ้นมาเป็นกระจุก เมื่อยังอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลมีต่อมน้ำมันมาก ขนาดของผลยาวประมาณ 5-7 นิ้วเนื้อในสีชมพูและสีเหลืองอ่อนมีรสหวานหรือเปรี้ยว จะมีอยู่ราว ๆ 12-18 กลีบ เมล็ดมีจำนวนมากสีน้ำตาลออกเหลือง ๆ
    ส้มโอ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ผล, เปลือกผล, เมล็ด, ราก

สรรพคุณ ส้มโอ :

  • ใบ เป็นยาแก้ปวดข้อ ท้องอืดแน่น แก้ปวดหัว (ตำพอกที่ศีรษะ)
  • ดอก แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระบังลม ขับเสมหะ ขับลม
  • ผล แก้เมาสุรา ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์เบื่ออาหาร ปากไม่รู้รสอาหาร
  • เปลือกผล เป็นยาขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้อึดอัด แน่นหน้าอก ไอ จุกแน่น ปวดท้องน้อย ไส้เลื่อน หรือต้มน้ำอาบแก้คัน ใช้ตำพอกฝี
  • เมล็ด แก้ไส้เลื่อน แก้ปวดท้อง ลำไส้เล็กหดตัวผิดปกติ
  • ราก แก้หวัด แก้ไอ แก้ปวด ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหาร ไส้เลื่อน
Scroll to top