มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ชื่อสมุนไพร : มะจ้ำก้อง
ชื่ออื่นๆ
: มะจำก้อง (เชียงใหม่), ตาปลา (ตราด), กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา (จันทบุรี), กาลังกาสาตัวผู้ (นครราชสีมา), พิลังกาสา เหมือด (เลย), จีผาแตก (ลพบุรี), ตาเป็ดตาไก่ (นครศรีธรรมราช), อ้ายรามใบใหญ่ (ตรัง), ทุรังกะสา (สตูล)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia sanguinolenta Blume.
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะจ้ำก้อง เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร
    มะจ้ำก้อง
  • ใบมะจ้ำก้อง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาแข็งเป็นมัน ผิวใบเรียบเป็นสีเขียว ใบอ่อนเป็นสีแดง
  • ดอกมะจ้ำก้อง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงรูปปิรามิด โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามส่วนยอด ช่อดอกย่อยอออกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายซี่ร่ม กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวแกมชมพูจางๆ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนกลีบเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมีจุดสีดำหรือมีขนสั้นเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง ก้านช่อดอกเป็นสีม่วงแดง
  • ผลมะจ้ำก้อง เป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดเท่ากับเม็ดนุ่น ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อสุกหรือแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ ส่วนเมล็ดมีลักษณะกลม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, ต้น, ใบ, ราก, เมล็ด, ดอก

สรรพคุณ มะจ้ำก้อง :

  • ผล  ยาแก้ธาตุพิการ แก้ซาง ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ลมพิษ
  • ต้น  ยาแก้กระษัย ยาฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น ยาแก้โรคเรื้อน
  • ใบ  ช่วยแก้อาการไอ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้โรคตับพิการ รักษาอาการติดเชื้อไวรัส
  • ราก  ยาแก้กามโรคและหนองใน ยาถอนพิษงู
  • เมล็ด  ยาแก้ลมพิษ
  • ดอก  ยาฆ่าเชื้อโรค
Scroll to top