มะกอกน้ำ

มะกอกน้ำ

ชื่อสมุนไพร : มะกอกน้ำ
ชื่ออื่นๆ :
มะกอกน้ำ, สารภีน้ำ, สีชัง, สมอพิพ่าย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeocarpus hygrophilus Kurz
ชื่อวงศ์ : ELAEOCARPACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะกอกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก พบขึ้นตามริมน้ำ ตามชายฝั่งทะเล ตามป่าโกงกาง ป่าพรุ ต้นสูง 3-12 เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ตามกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน
  • ใบมะกอกน้ำ เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบหยัก โคนใบสอบ ปลายใบป้านหรือมน ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบออกสีแดง ยาว 0.5-2 ซม.
  • ดอกมะกอกน้ำ สีขาวครีม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกยาว 2-10 ซม. ก้านดอกยาว 2-7 ซม. ดอกห้อยมะกอกน้ำลงคล้ายระฆัง ขนาด 4-8 มม. กลีบดอกจำนวน 5 กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง 3-4 มม. ยาว 5-8 มม. ปลายกลีบเป็นฝอยเล็กยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวกลีบ เกสรผู้จำนวน 15-25 อัน อยู่ภายในดอก

 

 

  • ผลมะกอกน้ำ ทรงรียาว กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ผิวเรียบเกลี้ยง ปลายแหลม ก้านผลยาว 0.7-1 ซม. เมล็ดแข็งรูปกระสวย ผิวขรุขระมี 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ผล, ดอก

สรรพคุณ มะกอกน้ำ :

  • เปลือกต้น รสเฝื่อน ชงน้ำดื่ม ฟอกโลหิตหลังคลอด
  • ผล รสฝาด เปรี้ยว อมหวาน แก้เสมหะในลำคอ แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ
    นำผลไปดองหรือเชื่อมกินเป็นผลไม้ช่วยระบาย
    ดองน้ำเกลือ รับประทานเป็นอาหารแทนมะกอกฝรั่ง จะมีรสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย น้ำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี
  • ดอก แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ
Scroll to top