มะไฟ

มะไฟ

ชื่อสมุนไพร : มะไฟ
ชื่ออื่นๆ :
แซเครือแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ผะยิ้ว (เขมร-สุรินทร์), ส้มไฟ (ภาคใต้),  หัมกัง (เพชรบูรณ์)
ชื่อสามัญ : Burmese grape
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea ramiflora Lour.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะไฟ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร ต้นมีทรงพุ่ม ลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีเปลือกแข็ง
    มะไฟ
  • ใบมะไฟ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมหอก โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หรือหยักตื้นๆ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-22 ซม. เส้นแขนงใบมี 5-8 คู่ ด้านล่างนูน เนื้อใบค่อนข้างบางเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-7.5 เซนติเมตร
  • ดอกมะไฟ ออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกมี 4-5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรผู้มี 4-8 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อยาวมาก ใบประดับขนาดเล็กอยู่ที่โคนก้านดอก กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร รังไข่มีขน
  • ผลมะไฟ ค่อนข้างกลมหรือรี วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร สีผิวเหลืองถึงแดง ผิวเกลี้ยง มี 1-3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน
    มะไฟ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ผล

สรรพคุณ มะไฟ :

  • ราก  รสจืด ต้มดื่มแก้ฝีภายในร่างกาย สุมเป็นถ่านปรุงยาดับพิษร้อน แก้พิษตานซาง ฝนทาแก้พิษฝีพุพอง ลำมะลอก เริม ฝีตานซาง ดับพิษต่างๆ
  • ผล  รสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้น้ำหลายเหนียว
    ผลมะไฟ
Scroll to top