แมงลัก

แมงลัก

ชื่อสมุนไพร : แมงลัก
ชื่ออื่น ๆ
 : แมงลัก, มังลัก(ภาคกลาง), กอมก้อขาว(ภาคเหนือ), ผักอีตู่(เลย)
ชื่อสามัญ : Labiatae, Hairy Basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum × africanum Lour.
ชื่อวงศ์ : LABIATAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นแมงลัก ไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก สูงประมาณ 30 – 100 เซนติเมตร โคนลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก สีเขียวออกขาวเล็กน้อย กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม และตามข้อมีขนสีขาวปกคลุม
  • ใบแมงลัก เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกแบบตรงข้าม ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียวตามขอบใบและเส้นใบมีขนละเอียดปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 1 – 2.5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมเช่นกัน
  • ดอกแมงลัก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกช่อบริเวณยอดหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาวและมีขนสีขาว กลีบรองกลีบดอกสีเขียวเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง กลีบดอกมีสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกเป็นปากมีหยักมนๆ 4 หยัก มีขนละเอียดสีขขาวปกคลุม เป็นดอกแบบสมมาตรด้านข้าง ดอกจะเรียงรอบก้านช่อเป็นชั้นๆ ชั้นละ 2 ช่อย่อย ช่อย่อยละ 3 ดอก
  • ผลแมงลัก เมื่อกลีบดอกร่วงก็จะเป็นผล ผลมีขนาดเล็ก เปลือกแข็งเมล็ดเดียว ลักษณะรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ผิวค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ภายในผลมีเมล็ด 4 เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำจะเกิดวุ้นหุ้มรอบๆ เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, ใบ, เมล็ด

สรรพคุณ แมงลัก :

  • ลำต้น  รสร้อน ใช้ลำต้นต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ขับลม ขับเหงื่อ และโรคทางเดินอาหาร
  • ใบ  รสหอมร้อน เป็นยาขับลม ขับเหงื่อ แก้ไอและโรคเกี่ยวกับลำไส้ ใช้อมบ้วนปากเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน, ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้หวัดในเด็ก, แก้หลอดลมอักเสบ, แก้ท้องร่วง, โขลกเป็นยาพอกแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง หรือใช้กากใบที่ตำทาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด
  • เมล็ด  รสหอมร้อน แช่น้ำให้พองเต็มที่ รับประทานเป็นยาระบาย ทำให้ถ่ายอุจจาระสะดวก ช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยเร่งการขับถ่าย เป็นยาลดความอ้วน ยาบำรุง ขับปัสสาวะ

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow”]รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย เป็นยาถ่าย[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”สารที่พบ :” icon=”arrow”]
เมือกจากเมล็ด พบ D-xylos, D-glucose, D-galactose, D-mannose, L-arabinose, L-rhamnose, uronic acid , oil, polysaccharide และ mucilage
ส่วนใบ พบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย borneol L-B-cadinene, 1-8-cineol, B-caryophyllene, eugenol[/su_spoiler]

Scroll to top