เนระพูสีไทย

เนระพูสีไทย

ชื่อสมุนไพร : เนระพูสีไทย
ชื่ออื่นๆ
: ว่านหัวฬา(จันทบุรี), ดีงูหว้า(ภาคเหนือ), ดีปลาช่อน(ตราด), มังกรดำ, ค้างคาวดำ, นิลพูสี(กรุงเทพ), ม้าถอนหลัก, ว่านพังพอน(ยะลา), ว่านนางครวญ(นครศรีธรรมราช)
ชื่อสามัญ : Bat flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca chantrieri Andre
ชื่อวงศ์ : TACCACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเนระพูสี เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก มีเหง้าหัว เจริญตามแนวราบใต้พื้นดิน
  • ใบเนระพูสี รูปหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเฉียง แผ่นใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ก้านใบสีเขียวคล้ำชูขึ้นสูงเหนือพื้นดินยาวประมาณ 1 – 1.5 ฟุต
  • ดอกเนระพูสี  ลักษณะก้านดอก ชูขึ้นมาสูงจากกลางกอ ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุก ดอกออกแน่น ล้อมรอบเนระพูสีไทยด้วยใบประดับรูปไข่ 2 ใบ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย มีสีดำสนิท มีกลีบดอก 2 กลีบ ลักษณะรีรูปทรงกลม รังไข่ใต้วงกลีบดอกด้านในจะเป็นเส้นยาวคล้ายด้ายยื่นห้อยลงมา ดูแล้วคล้ายเส้นด้ายสีดำ หน้าตาดอกเหมือนกับค้างคาวกำลังกระพือปีกในเวลากลางคืน ดอกมีกลิ่นสาบหืน

 

  • ผลเนระพูสี รูปขอบขนาน และมีลักษณะสามเหลี่ยม กว้าง 1-2 ยาว 1.5-3 ซม. แต่ละด้านมีสันตามยาว มีวงกลีบรวมที่ยังไม่ร่วงติด เมล็ด รูปไต กว้าง 2-2.3 ยาว 3-4 มม. และหนา 1-1.5 มม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น  ราก, ต้น, เหง้า, ใบ

สรรพคุณ เนระพูสีไทย :

  • เหง้าใต้ดิน รสสุขุม ต้มหหรือดองสุราแก้ความดันเลือดต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ เป็นยาบำรุงสตรีมีครรภ์
  • ทั้งต้น รสสุขุม ต้มอาบรักษาผื่นคัน หรือผสมกับสมุนไพรอื่น ฝนรวมกันกินแก้เบื่อเมา
  • ราก, ต้น, เหง้า, ใบ ต้มดื่มดื่มหรือเคี้ยวกินแก้ปวด ปวดตามร่างกาย มะเร็ง ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร บำรุงร่างกาย
Scroll to top