ฮี๋ยุ่ม

ฮี๋ยุ่ม

ชื่อสมุนไพร : ฮี๋ยุ่ม
ชื่ออื่นๆ :
หญ้าฮี๋ยุ่ม, หญ้าหมอยแม่หม้าย, ขนหมอยแม่ม่าย(สตูล), หญ้าเหล็กไผ่(สุราษฎร์ธานี), หญ้าอีเหนียว(ชัยนาท), เหนียวหมา (ระนอง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centotheca Lappacea (L) Desv.
ชื่อวงศ์ : Poaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นฮี๋ยุ่ม ลำต้นสูง 50-70 เซนติเมตร
    ฮี๋ยุ่ม
  • ใบฮี๋ยุ่ม ใบมีขนาดกว้าง 1.5 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 6.5 – 15.0 เซนติเมตร ตามลำต้น กาบใบ และตัวใบจะเห็นเส้นใบลายเป็นทางยาวชัดเจน ใบมีขน ขอบใบเรียบ บางครั้งมีคลื่นเล็กๆ ทั้งสองด้าน ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นบางๆ สีน้ำตาล (membranous) สูง 2-3 มิลลิเมตร
  • ดอกฮี๋ยุ่ม ช่อดอกแบบ panicle ยาว 15 – 43 เซนติเมตร ช่อดอกย่อย (spikelets) มี 2-3 ดอก ดอกมีสีเขียว ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ก้านสั้นๆ ที่กาบดอกด้านล่าง หรือท่อนพันธุ์

สรรพคุณ ฮี๋ยุ่ม :

  • ต้นฮี๋ยุ่ม ช่วยในการกระชับช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอดของหญิงหลังคลอด หรือในหญิงที่มีปัญหาช่องคลอดหย่อนยานไม่กระชับก็สามารถใช้หญ้าดังกล่าวช่วยคืนความกระชับให้ช่องคลอด กลับมามีความกระชับเต่งตึง ลดการหย่อนยานของมดลูกได้ ทำให้กลับมาเหมือนวัยแรกสาวอีกครั้ง และยังช่วยในการสมานแผล เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายไวไม่ติดเชื้อ
    สำหรับในสุภาพบุรุษก็สามารถใช้หญ้าฮี๋ยุ่มนี้ได้เช่นกัน ทั้งในเรื่องการช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ในการรักษาบาดแผล โดยสามารถทำในลักษณะอบไอน้ำ เพื่อบรรเทาอาการริดสีดวงทวารด้วย
  • หญ้าฮี๋ยุ่ม (หญ้ารีแพร์) เป็นหญ้าตระกูลไผ่ พบการใช้มากในภาคอีสาน หญ้าชนิดนี้มีสารซิลลิกา (Sillica) ที่มีสรรพคุณช่วยในการฟื้นฟู สร้างความยืดหยุ่นของเอ็น หรือเนื้อเยื่อให้มีความแข็งแรงกระชับ และสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ และยังช่วยกระชับผิว ให้เต่งตึงอีกด้วย
  • ช่วยกระชับช่องคลอด ในหญิงหลังคลอด หรือหญิงที่มีปัญหาช่องคลอดหย่อนยาน ไม่กระชับ
  • ช่วยคืนความกระชับให้ช่องคลอด ให้กลับมามีความกระชับเต่งตึง
  • ช่วยลดการหย่อนยานของมดลูกได้
  • ช่วยบีบมดลูกให้แห้งเข้า ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ใช้รมบาดแผลทำให้แผลแห้งเร็ว
  • ช่วยลดอาการอักเสบของบาดแผลคลอดบุตรได้
  • ช่วยสมานแผล เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายไว ไม่ติดเชื้อ
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น เต่งตึง
  • ช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนักด้วย
  • ช่วยให้เนื้อเยื่อมีความแข็งแรง และสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่
Scroll to top