สารพัดพิษ

สารพัดพิษ

ชื่อสมุนไพร : สารพัดพิษ
ชื่ออื่นๆ :
 ส้มพอ, กักไม้ฝอย, สะนาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sophora tomentosa L.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสารพัดพิษ เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุนาน 20-30 ปี ลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นอ่อน และกิ่งอ่อนมีเปลือกสีเขียวนวล ลำต้นที่โตเต็มที่ และกิ่งแก่มีสีเทาอมน้ำตาล และมีขนสีนวลปกคลุม
    สารพัดพิษ
  • ใบสารพัดพิษ ใบประกอบแบบขนนกแบบใบเดี่ยว (ใบสุดท้ายมีใบเดียว) ประกอบด้วยก้านใบหลัก ยาวสารพัดพิษประมาณ 30-40 เซนติเมตร บนก้านใบหลักมีใบย่อย 13-21 ใบ ใบย่อยมีรูปไข่กลับ โคนใบ และปลายใบโค้งมน บางชนิดปลายสุดของใบเป็นติ่งแหลม ขนาดใบกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร

 

  • ดอกสารพัดพิษ ออกเป็นช่อ แทงออกที่ปลายยอดในแต่ละกิ่ง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร สารพัดพิษแต่ละก้านช่อมีดอกย่อย 15-40 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะทรงกระบอก คล้ายดอกแคบ้าน ยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงที่มีลักษณะเป็นรูปถ้วยสีเหลืองอมเขียวห่อหุ้มดอกไว้ ถัดมาเป็นกลีบดอกที่มีลักษณะรียาว จำนวน 5 กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร แผ่นกลีบดอกมีสีเหลือง
  • ผลสารพัดพิษ เป็นฝัก ออกเป็นผลเดี่ยว ผลมีลักษณะแปลก คือ ผลมีลักษณะขอดเป็นข้อหรือก้อนนูน 1-10 ขอด เรียงกันยาวคล้ายสร้อยลูกปัด ฝักอ่อนมีสีเขียวสด และมีขนนวลปกคลุม ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล แล้วแห้งกลายเป็นสีดำ เมล็ดสารพัดพิษจะมีจำนวนตามขอดหรือก้อนนูนบนฝัก เช่น จำนวนขอด 5 ขอด ก็จะมีเมล็ด 5 เมล็ด ซึ่งเมล็ดจะแทรกอยู่ภายในขอด เมล็ดในฝักอ่อนมีสีเขียวอมขาว เมล็ดแก่มีสีน้ำตาล เปลือกเมล็ดค่อนข้างแข็ง
    ผลสารพัดพิษ เมล็ดสารพัดพิษ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ลูก, ทั้งต้น

สรรพคุณ สารพัดพิษ :

  • ราก รสเฝื่อนเย็น แก้พิษร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฝนทาแก้พิษแมลงป่องและตะขาบ แก้ปวดฝี ทำให้เย็นแก้พิษฝี ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
  • ลูก รสเย็น แก้พิษร้อนทุกอย่าง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้เซื่องซึม ดับพิษไข้บิดเรื้อรัง
  • ทั้งต้น รักษาโรคท้องเสีย
Scroll to top