สัก

ชื่อสมุนไพร : สัก
ชื่ออื่นๆ :
 ปายี้, เส่บายี้, เป้อยี, ปีฮือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis Linn.f.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรงสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบในฤดูร้อน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื่นเล็ก ๆ สีเทา โคนต้นมักเป็นพูต่ำ ๆ
  • ใบสัก เป็นใบเดียว ต้นเล็กจะมีใบใหญ่มาก โคนใบมน ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 25-30 ซม. กว้างเกือบเทาความยาวเนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ด้านหลังใบสีอ่อนกว่า ถ้าขยี้ใบสดจะมีสีแดงช้ำ และเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ
  • ดอกสัก เป็นช่อใหญ่หลวม ๆ ตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีขาวนวล ร่วงง่ายเกสรผู้ 5 อัน
  • ผลสัก แห้ง เป็นกระเปาะค่อนข้างกลม วัดเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 2 ซม.เปลือกแข็งภายในโปร่งมีเมล็ด 1-3 เมล็ด
    สัก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, เปลือกต้น, แก่น, เนื้อไม้

สรรพคุณ สัก :

  • ใบ รสฝาดเฝื่อน แก้เบาหวาน แก้พิษเสมหะและโลหิต แก้ระดูไม่ปกติ  รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด บำรุงโลหิต รักษาประจำเดือนไม่ปกติ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ทำยาอม แก้เจ็บคอ
  • ดอก รสจืด ก้ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ใช้ในการสมานแผล
  • แก่นและเนื้อไม้ รสเมาร้อน (เผ็ดสุขุม) ฆ่าพยาธิผิวหนัง ขับพยาธิ บำรุงโลหิต แก้ไอ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้บวม ขับลมในกระดูก คุมธาตุ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow-circle-1″]
ลดน้ำตาลในเลือด ใช้ใบต้มกับน้ำ รับประทานเป็นยา
บำรุงโลหิต ขับลม แก้อ่อนเพลีย โดยใช้แก่นหรือเนื้อไม้ 30-50 กรัม ต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่ม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น
แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ โดยใช้ใบสด 1-2 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วต้มในน้ำ 500 ซีซี ประมาณ 15 นาที กรองเอาน้ำอมกลั้วคอวันละ 2-3 ครั้ง[/su_spoiler]

Scroll to top