สนทราย

สนทราย

ชื่อสมุนไพร : สนทราย
ชื่ออื่นๆ
:  เสียวน้อย(อุบลราชธานี), สนหอม(จันทบุรี), ก้านถินแดง, สนนา(สุราษฎร์ธานี), สนสร้อย(นครศรีธรรมราช), สนเทศ(ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baeckea frutescens L.
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสนทราย เป็นไม้พุ่มจำพวกสน แตกกิ่งก้านสาขาเป็นจำนวนมาก มีความสูงของต้นประมาณ 5 เมตร ล้ำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาล เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล มีความแข็งแรงทนทาน กิ่งแตกเป็นเนื้อมีขนสีน้ำตาลแดง ลักษณะของกิ่งมักลู่ลง กิ่งมีสีน้ำตาลอ่อน เรียวยาว เปลือกแตกเป็นขุย
    สนทราย
  • ใบสนทราย เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะเป็นเส้นพุ่มห้อย อยู่รวมกันเป็นกระจุก หลังใบเป็นร่อง ส่วนท้องใบงอเล็กน้อย โคนเป็นครีบ มีกลิ่นหอม ก้านใบสั้นหรือไม่มีก้านใบ ลักษณะของใบคล้ายกับใบสนเข็ม
  • ดอกสนทราย ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกสั้นๆ ที่ง่ามใบ มีดอกย่อยประมาณ 2-3 ดอก มีสมมาตรแนวรัศมี ก้านดอกสั้น ดอกมีขนาดเล็กสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบยาวไม่เกิน 2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงแยกออกเป็น 2 แฉก หุ้มติดโคนกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 8-10 อัน
  • ผลสนทราย มีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปถ้วย กลีบเลี้ยงและเกสรเพศเมียติดทน สีน้ำตาล เมื่อแห้งแล้วจะแตกกลางพู ภายในผลพบเมล็ดรูปเป็นเหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, ลำต้น

สรรพคุณ สนทราย :

  • ใบ  บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้พิษร้อนภายใน แก้อาการไอ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ บรรเทาอาการลมแดด ช่วยขับลม แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน แก้ออกหัด แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แก้ปวด แก้บวมช้ำ ฟกช้ำดำเขียว แก้ไข้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รากส  แก้อาการหน้ามืด วิงเวียน แก้พิษร้อนภายใน แก้ไข้หวัดตัวร้อน แก้อาการไอ แก้อาการปวดกระเพาะ ช่วยแก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • ลำต้น  แก้อาการหน้ามืด วิงเวียน แก้พิษร้อนภายใน แก้อาการไอ ขับปัสสาวะ ช่วยแก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้ปวดหลัง ปวดเอว
Scroll to top