มะค่าโมง

มะค่าโมง

ชื่อสมุนไพร : มะค่าโมง
ชื่ออื่นๆ :
  มะค่าหลวง, มะค่าใหญ่, เขง, เบง, บิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะค่าโมง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10-18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ต้นแก่มักมีปุ่มปม
    มะค่าโมง
  • ใบมะค่าโมง เป็นใบประกอบ เรียงสลับกัน ช่อรวมยาว 18-30 เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อย 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-9 เซนติเมตร โคนและปลายใบมน ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม.
  • ดอกมะค่าโมง สีเขียวอ่อนแกมสีแดงเรื่อ ออกเป็นช่อ ยาว 5-15 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขนคลุมบางๆ ก้านดอกย่อยยาว 1 เซนติเมตร มีกลีบรองดอก 4 กลีบ กลีบดอก 1 กลีบ สีแดงเรื่อ รูปร่างแผ่เกือบกลม ยาว 7-9 มิลลิเมตร ส่วนฐานคอดเป็นก้านเกสรผู้ที่สมบูรณ์มี 7 อัน
  • ผลมะค่าโมง เป็นฝักแบนรูปไม้บรรทัดสั้น กว้าง 7-10 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร หนา 0.6-1 เซนติเมตร ผนังแข็ง เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีกตามยาว เมล็ดสีดำ ผิวมัน ที่โคนมีเยื่อหนาสีเหลืองหุ้มเป็นรูปถ้วย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, เปลือกต้น, ราก, เมล็ด

สรรพคุณ มะค่าโมง :

  • ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม  รสเบื่อเมา เป็นยาถ่ายพยาธิ และรักษาโรคผิวหนัง หรือต้มเอาไอรมหัวริดสีดวงทวารทำให้แห้ง
  • เปลือกต้น  ผสมกับเปลือกต้นมะค่าแต้อย่างละครึ่งกำมือ ใช้เป็นยาประคบ แก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากเจตพังคีอย่าละครึ่งกำมือ เป็นยาสมานแผล
  • เปลือกต้น  และราก  ใช้รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดอ่อน รับประทานสด หรือต้มให้สุก
  • เมล็ดแก่  นำมาคั่ว และกะเทาะเปลือกออกแช่น้ำให้นิ่ม รับประทานได้ มีรสมัน
  • เปลือก  ให้น้ำฝาด ใช้ฟอกหนัง
  • ลำต้น  ใช้รักษาโรคผิวหนัง พยาธิ
Scroll to top