ฝ้ายแดง

ฝ้ายแดง

ชื่อสมุนไพร : ฝ้ายแดง
ชื่อสามัญ : Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium arboreum Linn.
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นฝ้ายแดง เป็นพันธุ์ไม้ทรงพุ่มขนาดกลาง ลำต้นนั้นมีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่2-4 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบๆต้นเป็นทรงพุ่มโปร่ง มีกิ่งก้านที่แข็งแรง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาลอมแดง
  • ใบฝ้ายแดง ใบประกอบแบบใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบคล้ายกับรูปฝ่ามือ ปลายของใบแหลมหรือมน โคนใบมนเว้า ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉกคล้ายฝ่ามือหลังใบเรียบเส้นใบเป็นสีแดงแตกออกก้านใบเป็นสีแดงเช่นเดียวกับเส้นของใบ
  • ดอกฝ้ายแดง เป็นดอกเดี่ยว โดยดอกจะออกตามซอกใบใกล้บริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแดงเข้มหรือสีฝ้ายแดงเหลืองอ่อน ตรงกลางดอกเป็นสีม่วงแดงหรือสีม่วงดำประแต้มไปด้วยสีเหลืองมีลักษณะเป็นรูปคล้ายกับสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันมีรูปทรงคล้ายรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกบางมี 5 กลีบ วางเรียงเวียนซ้อนกันแลดูสวยงาม โคนกลีบดอกติดกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 5 แฉก
  • ผลฝ้ายแดง ผลมีลักษณะกลมเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม หัวท้ายแหลม ผิวผลลื่นมีสีเขียวอมแดง มีกลีบรองดอกหุ้มอยู่ พอแก่จัดจะแตกออกเป็นปุยฝ้ายสีขาวลักษณะคล้ายสำลี เมล็ดค่อนข้างกลมสีเขียว มีจำนวนมาก ปกคลุมไปด้วยขนยาวสีขาว

ส่วนที่ใช้เป็นยา :เปลือกราก  ใบ

สรรพคุณ ฝ้ายแดง :

  • เปลือกราก บดเป็นผง ชงน้ำเดือดดื่มช่วยขับปัสสาวะ บีบมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ใบ ปรุงเป็นยารับประทานแก้ไข้ ขับเหงื่อ จำพวกยาเขียว และเป็นยาเด็ก แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี

 

ข้อควรระวัง : 

  • เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ที่กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกจึงไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแท้งลูกได้นั้นเอง

 

ข้อเปรียบเทียบระหว่างฝ้ายขาวกับฝ้ายแดง

  • โดยลักษณะทางกายภาพภายนอกของพืชชนิดนี้นั้นแต่ต่างกันค่อนข้างชัดเจนส่วนที่สามารถแยกฝ้ายสองสายพันธุ์ออกจากกันได้คือลักษณะของใบโดยใบของฝ้ายแดงนั้นมีลักษณะคล้ายกับรูปฝ่ามือปลายเรียวแหลมมนตรงปลายโคนใบเว้าเส้นใบเป็นสีแดงค่อนข้างชัดเจนส่วนใบของฝ้ายขาวมีลักษณะใบคล้ายกับใบตำลึงเส้นใบสามารถเห็นได้ชัดเจนมีสีเขียว
  • สรรพคุณทางของฝ้ายแดงและฝ้ายขาวนั้นมีสรรพคุณใกล้เคียงกันแต่ส่วนของฝ้ายขาวนั้นมีสรรพคุณที่ช่วยในการลดระดับไขมันในเส้นเลือด ช่วยยับยั้งการเกิดของอสุจิและยังสามารถช่วยคบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้นเอง

 


เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.“ฝ้ายแดง(Fai Daeng)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).   หน้า 186.
  2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).หน้า 518-519.
  3. ไทยเกษตรศาสตร์.“ข้อมูลของฝ้ายแดง”.อ้างอิงใน : ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :com. [27ก.พ. 2020].
  4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:or.th/plants_data/herbs/.[27ก.พ. 2020].
    • หนังสือไม้ดอกไม้ประดับ.
Scroll to top