ปอกระเจา

ปอกระเจา

ชื่อสมุนไพร : ปอกระเจา
ชื่ออื่นๆ :
กระเจา, กาเจา(ไทย), เส้ง, ปอเส้ง(พายัพ)
ชื่ออังกฤษ  : 
White Jute, Jute.
ชื่อวิทยาศาสตร์
 : Corchorus capsularis Linn.
ชื่อวงศ์ : TILIACEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ปอกระเจา เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก อายุได้ 1 ปี มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียวอ่อนหรือแดงเข้ม แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม เป็นไม้เนื้ออ่อน
  • ใบปอกระเจา ใบเดี่ยว รูปไข่แหลม เรียงสลับกันใบกว้าง 4-5 ซ.ม. ยาว 5-12 ซ.ม. ยาว เรียว ปลายใบปอกระเจาแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบบาง ที่แผ่นใบตรงฐานใบมีเส้นเล็กๆ สีแดงๆ อยู่ 2 เส้น เป็นลักษณะของพืชในตระกูลนี้ (Corchorus) ฐานของแผ่นใบมนกลม

 

 

  • ดอกปอกระเจา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 2-3 ดอก โดยจะออกบริเวณระหว่างซอกใบปอกระเจากับกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองมีขนาดเล็ก

 

 

 

  • ผลปอกระเจา กลมเป็นพู 5 พู ผิวของผลขรุขระ ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7-1 ซ.ม. ผลแตกได้ ปอกระเจาภายในมีเมล็ดสีนํ้าตาลเป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ผล, ราก, เมล็ด, เปลือกต้น

สรรพคุณ ปอกระเจา :

  • ใบ ยาบำรุง ช่วยบำรุงธาตุ และช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต แก้ร้อนใน ทำให้เลือดเย็น แก้อาการเจ็บคอ แก้ไข้ ยาแก้ไอ ช่วยรักษาโรคบิด หรืออาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อบิดที่ไม่รุนแรง ยาระบาย แก้อุจจาระเป็นเลือด ขับลม ขับปัสสาวะ ช่วยแก้โรคหนองใน แก้ตับพิการ รักษาแผล ยาระงับพิษ ใช้เป็นยาพอกแก้พิษ แก้บวม ทาแก้ผิวหน้าแดงบวม แก้พาปลาปักเป้า
  • ผล เป็นยากระตุ้นหัวใจ เนื่องจากมีฤทธิ์คล้ายๆ ตัวยาในดิจิตาลิส แก้โรคท้องเดิน รักษาโรคหายใจไม่สะดวก
  • รากและผลที่ยังไม่สุก ต้มกินแก้ท้องเดิน ในรัสเซียพบว่าสาร olitoxizid เป็น สารที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ในเบงกอลใช้ใบแห้งชงนํ้ารับประทาน เช่นนํ้าชา ใช้แก้ตับพิการ ยาชงของใบปอกระเจารวมกับลูกผักชีและผลเทียนเยาวพาณี ใช้เป็นยาธาตุและบำรุง
  • เมล็ด เป็นพิษต่อสุนัข กินตาย จาก Lloydia เดือนกันยายน- ตุลาคม 2519 มีรายงานว่าผลไม่สุกใช้ลดการอักเสบ ใช้ในโรคหายใจไม่สะดวก แก้ไข้ แก้ท้องร่วง ยาระบาย
  • เปลือกต้น ใช้ แก้บิด แก้ไข้
Scroll to top