ซาก

ซาก

ชื่อสมุนไพร : ซาก
ชื่ออื่น ๆ
: พันซาด, ซาดพันซาด(เหนือและอีสาน); ผักฮาก(ภาคเหนือ); เตรีย(สุรินทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrophleum succirubrum Gagnep.
ชื่อวงศ์ : LeguminosaeCaesalpinioideae 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นซาก เป็นพรรณไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 20-35 เมตร ลำต้นมีขนาดใหญ่ ออกใบดกและหนาทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีดำ แตกเป็นร่องค่อนข้างลึกตามยาวและตามขวางของลำต้น เนื้อไม้ด้านในเป็นสีขาว และแก่นกลางไม้มีเนื้อแข็งเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
  • ใบซาก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีช่อใบด้านข้าง 2-3 คู่ ในช่อใบมีใบย่อยประมาณ 8-16 คู่ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปใบหอก รูปหัวใจ หรือรูปข้าวหลามตัด ปลายใบมน โคนใบสอบหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวสด ผิวท้องใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุม มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 5-7 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
  • ดอกซาก ดอกช่อออกที่ซอกใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง จำนวน 1-3 ช่อต่อซอกใบ มักออกดอกพร้อมกับการผลิใบอ่อน ดอกย่อย มีกลีบเลี้ยง กลีบติดกันเป็นรูปถ้วย สีเขียวขอบถ้วยแยกเป็น แฉกกลีบดอก กลีบ สีเขียวแกมขาวติดกันเล็กน้อยที่ฐาน เกสรเพศผู้ มีจำนวน 10 อัน แยกกันอิสระ เกสรเพศเมีย อัน
    ซาก
  • ผลซาก ผลมีลักษณะเป็นฝัก ลักษณะของฝักจะค่อนข้างกลมคล้ายกับฝักประดู่[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าฝักมีลักษณะคล้ายกับฝักสะตอ มีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีเมล็ดประมาณ 5-8 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีลักษณะกลมแบน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้

สรรพคุณ ซาก :

  • เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ มีพิษถึงตาย ต้องเผาเป็นถ่านจึงจำนำมาทำยาได้ ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับเด็กได้ดี แก้ตานซาง แก้อาการเชื่อมซึม และแก้พิษไข้ แก้โรคผิวหนัง

[su_quote cite=”The Description”]เนื้อไม้ เมื่อใช้เผาเป็นถ่านจะให้ไฟแรงได้ดี เรียกว่า ถ่านทำทอง [/su_quote]

Scroll to top