ขมัน

ขมัน

ชื่อสมุนไพร : ขมัน
ชื่ออื่นๆ :
เครือเต่าไห้ (ลำปาง), ย่านงด, อ้ายไร (กรุงเทพฯ), ชะไร ยาวี (สตูล), เถากะมัน ย่านมูรู (พัทลุง), กุระเปี๊ยะ (สงขลา), มะรุ (ปัตตานี), โร (พังงา), มือกอ (มลายู-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Poikilospermum suaveolens Merr.
ชื่อวงศ์ : URTICACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขมัน จัดเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีลักษณะกลมเรียบ มีสีน้ำตาลเข้ม จามข้อเถามีรากอากาศงอห้อยลงมา กิ่งอ่อนและลำต้นมีตุ่มระบายอากาศตามผิว เปลือกต้นเป็นสีเทาและมียางใส
    ขมัน
  • ใบขมัน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับไปตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีกว้าง ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-26 เซนติเมตร เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบและท้องใบเรียบ เส้นใบออกจากจุดฐาน 3 เส้น มีเส้นแขนงใบ 10-12 คู่ สามารถเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ก้านใบมีสีน้ำตาลอมแดง ยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร มีเกล็ดประปราย ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง


  • ดอกขมัน แยกเพศ ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นก้อนหรือเป็นหัว ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเพศเมียรวมกันเป็นหัวเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร โคนดอกติดกันเป็นหลอดเล็กๆ และปลายแยกเป็นแฉกแหลม 4 แฉก เกสรผู้ 2-4 อัน รังไข่มีช่องเดียว มีไข่อ่อน 1 หน่วย


  • ผลขมัน เป็นก้อนกลม สีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง ขนาด 2-4 เซนติเมตร ก้านช่อผลยาวถึง 4 เซนติเมตร


ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกจากเนื้อไม้

สรรพคุณ ขมัน :

  • เปลือกจากเนื้อไม้ ผสมปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงครรภ์ รักษาสตรีที่กำลังตั้งครรภ์

 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

  1. นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. (2547). สมุนไพรไทย เล่ม 1. ฐานการพิมพ์ จำกัด:กรุงเทพมหานคร.
  2. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ,นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ. (2549). สมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทสามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ)จำกัด:กรุงเทพมหานคร.
Scroll to top