ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ชื่อสมุนไพร :        ก้นจ้ำ
ชื่ออื่น ๆ
:              หญ้าก้นจ้ำ, บ่ะดี่(ลั้วะ)
ชื่อสามัญ :            Spanish Needles
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Bidens biternata (lour.) Merr. & Sherffex Sherff
ชื่อวงศ์ :                COMPOCITAE. 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นก้นจ้ำ เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย
    ก้นจ้ำ
  • ใบก้นจ้ำ ออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
  • ดอกก้นจ้ำ ออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
    ก้นจ้ำ
  • ผลก้นจ้ำ มีลักษณะยาว แคบ ยาวประมาณ 9-19 มิลลิเมตร ปลายผลมีระยางค์อยู่ 2-5 อันยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ผิวนอกขนจะมีผลสั้น ๆ ออก

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  ใบ, ทั้งต้น

สรรพคุณ ก้นจ้ำ :

  • ใบ รสเย็นจืด ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาใช้ ล้างตา แก้โรคตามัว หรือใช้ตำพอกแผลสด แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้
  • ทั้งต้น รสขมเฝื่อน ต้มดื่มแก้หวัด แก้ปวดท้อง ตำกับสุราทาแก้งูสวัด
    ตำกับน้ำตาลทรายแดง พอกรักษาโรคผิวหนัง ฝีพุพอง บวม
    ต้มเอาน้ำ ทาแก้ฝีที่หน้าแข้ง
    ผสมสมุนไพรอื่นต้มน้ำดื่ม แก้ไอมีน้ำมูกข้น
    ผสมกับรากสาบเสือ รากปืนนกไส้ ทั้งต้นผักปลาบ รากมะเหลี่ยมหิน ต้มน้ำดื่ม แก้ไอมีน้ำมูกข้น
    ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หวัด คัดจมูก หรืออาบแก้ไข้

 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง ก้นจ้ำ :

  1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.
  2. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  2539. พจนานุกรม สมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4 .ประชุมทองการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร.

ภาพประกอบ :

  • Takashi Hoshide. (2015). Bidens biternata. [Image]. Retrieved from www.flickr.com
  • ashitaka-f. (2015). Bidens biternata. [Image]. Retrieved from www.flickr.com
Scroll to top