กรุงเขมา

กรุงเขมา

ชื่อสมุนไพร : กรุงเขมา
ชื่ออื่นๆ :
หมอน้อย(อุบลราชธานี), ก้นปิด(ตะวันตกเฉียงใต้), ขงเขมา, พระพาย(ภาคกลาง), เปล้าเลือด(แม่ฮ่องสอน), สีฟัน(เพชรบุรี), เครือหมาน้อย(อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman.
ชื่อวงศ์ : Menispermaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกรุงเขมา เป็นไม้เถา เถา กิ่ง ใบ และช่อดอกมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่น
  • ใบกรุงเขมา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลม รูปหัวใจหรือรูปไต ก้นปิด กว้างยาว 2-10 เซนติเมตร บางครั้งอาจกว้างมากกว่ายาว ปลายแหลมหรือเป็นติ่งหนาม โคนมน ตัดหรือเว้าเล็กน้อย เมื่อยังอ่อนมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน และตามขอบใบ แต่จะร่วงไปเมื่อใบแก่ ก้านใบยาว 2-10 เซนติเมตร
    กรุงเขมา
  • ดอกกรุงเขมา ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบ ยาว 2-8.5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 4 กลีบ โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบเลี้ยงเกสรเพศผู้มัดเดี่ยวยาวกว่ากลีบเลี้ยง อับเรณูติดกันเป็นรูปจาน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อกระจะที่ง่ามใบ ยาว 2.5-5 เซนติเมตร ก้านดอกสั้นมาก ใบประดับรูปกลม หรือรูปไต ซ้อนเหลื่อมกันแน่น ไม่ร่วง ปลายเป็นติ่งหนาม มีขน กลีบเลี้ยง 1 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบดอก 1 กลีบ ออกตรงข้ามกับกลีบเลี้ยง และสั้นกว่า
  • ผลกรุงเขมา ผลค่อนข้างกลม สีแดง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 เซนติเมตร มีขน มีเมล็ดเดียว เล็ก แข็ง รูปโค้ง หรือเป็นรูปเกือกม้า ผิวขรุขระ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบ, ลำต้น

สรรพคุณ กรุงเขมา :

  • ส่วนเหนือดิน เป็นยาแก้ร้อนใน แก้โรคตับ 
  • ราก รสหอมเย็นสุขุม แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง แก้ลม โลหิต กำเดา แก้โรคตา ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ใช้เคี้ยว แก้ปวดท้อง และโรคบิด ระบายนิ่ว แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไอเจ็บหน้าอก เป็นยาขับเหงื่อ ยาขับระดู ยาบำรุง ยาสงบประสาท ยาขับน้ำเหลืองเสีย ยาสมาน เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ ยาช่วยย่อย แก้ท้องร่วง บวมน้ำ แก้ไอ ขัดเบา และใช้ในรายถูกงูกัด เป็นยาลดไข้ แก้ปวดท้อง โรคหนองใน
  • รากและใบ พอกเป็นยาเฉพาะที่ แก้โรคผิวหนัง หิด 
  • ลำต้น ดับพิษไข้ทุกชนิด บำรุงโลหิตสตรี เป็นยาพอกแก้ตาอักเสบ 
  • เนื้อไม้ แก้โรคปอด และโรคโลหิตจาง 
  • ใบ แก้ร้อนใน พอกแผล ฝี แก้แผลมะเร็ง แก้หืด ใช้ทาภายนอกแก้หิด

กรุงเขมา กรุงเขมา

Scroll to top