ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ

ชื่อสมุนไพร : ตีนเป็ดน้ำ
ชื่ออื่นๆ :
 ตีนเป็ดทะเล(ภาคกลาง), ตุม(กาญจนบุรี), สั่งลา(กระบี่), มะตะกอ(มลายู-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cerbera Odollam  Gaertn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตีนเป็ดน้ำ เป็นไม้ต้น สูงประมาณ 15 เมตร ลำต้น ทรงร่มมักแตกกิ่งต่ำ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
  • ใบตีนเป็ดน้ำ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นวงๆ เป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ใบมันรูปไข่กลับแกมใบหอก โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม
  • ดอกตีนเป็ดน้ำ สีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ใจกลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีหลายดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบรองดอก 5 กลีบ ออกดอกตลอดปี
  • ผลตีนเป็ดน้ำ ค่อนข้างกลม สีเขียว ผิวเรียบ เมื่อสุกสีแดง เป็นมัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เปลือกต้น, ใบ, ดอก, ผล

สรรพคุณ ตีนเป็ดน้ำ :

  • ราก รสเฝื่อน ช่วยขับเสมหะ
  • เปลือก  เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน แก้ไข้ แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ สมานลำไส้
  • ใบ แก้ไข้หวัด ฆ่าพยาธิ แก้กลากเกลื้อน
  • ดอก  แก้ริดสีดวงทวาร
  • ผล  แก้ผมหงอก ระงับอาการปวด เป็นยาระบาย
  • เมล็ด  ใช้เบื่อปลา มีฤทธิ์ต่อหัวใจ
  • น้ำมันจากเมล็ด  แก้หิด เหา เป็นยาฆ่าแมลง
  • ยางจากต้น ทำให้อาเจียน

[su_quote cite=”The Description”]ตีนเป็ดน้ำเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา กระตุ้นหัวใจ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง แก้ปวด เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ พบว่าเมื่อฉีดสารสะกัดจากใบเข้าไปในหนูทดลองในปริมาณมากทำให้หนูตายได้ จัดเป็นพืชที่มีโทษอย่างร้ายแรงถ้ารับประทานเข้าไปมาก ๆ อาจจะทำให้เสียชีวิตได้[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ระหว่างตีนเป็ดทรายและตีนเป็ดน้ำ(ตีนเป็ดทะเล) คือ ใจกลางดอกตีนเป็ดทรายมีสีแดงอมชมพู ในขณะที่ใจกลางดอกตีนเป็ดน้ำมีสีเหลือง และผลตีนเป็ดน้ำมีขนาดใหญ่กว่าตีนเป็ดทราย[/su_quote]

Scroll to top